ถือหุ้นได้สบายมาก แค่บริหารพอร์ตให้เป็น

2024-03-05
สรุป

ถือหุ้นให้สบายใจไม่ใช่เรื่องยาก เพียงรู้จักบริหารพอร์ตให้เหมาะสม ใครบริหารพอร์ตไม่เป็นอ่านบทความนี้ได้เลย แล้วพอร์ตคุณจะสีเขียวสบายตาขึ้น

บริหารพอร์ตหุ้นอย่างไรให้ถูกต้อง เป็นคำถามที่ไม่มีคำตอบตายตัว เพราะนักลงทุนแต่ละคนล้วนมีเป้าหมายที่แตกต่างกัน เช่น นักลงทุนบางคนซื้อหุ้นน้อยตัว แต่กลับซื้อถูกตัว และถูกโอกาส ก็สามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างน่าพอใจ กลับกันนักลงทุนบางคนซื้อหุ้นหลายตัว แต่กลับไม่ถูกตัว และไม่ถูกโอกาส ก็สามารถขาดทุนจนหมดตัวได้เช่นกัน เป็นต้น ดังนั้นการบริหารพอร์ตจึงไม่ใช่เรื่องของความถูกต้อง แต่เป็นเรื่องของความเหมาะสมในการจัดสรรหุ้นแต่ละตัวมากกว่า ซึ่งเราจะมาทำความรู้จักกับเทคนิคการบริหารพอร์ตอย่างเหมาะสมไปด้วยกัน


เริ่มต้นบริหารพอร์ตด้วยการกระจายความเสี่ยงอย่างถูกต้อง


              การกระจายความเสี่ยงเป็นเทคนิคพื้นฐานที่นักลงทุนควรมีเป็นอันดับแรก เพราะยังมีนักลงทุนหลายคนที่มีความเชื่อว่า การกระจายความเสี่ยง คือการซื้อหุ้นหลายตัว ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ใช่การกระจายความเสี่ยงที่ถูกต้องทั้งหมด เพราะหลายครั้งการซื้อหุ้นหลายตัว แต่ทุกตัวกลับอยู่ในธุรกิจเดียวกัน ก็ไม่ได้ช่วยกระจายความเสี่ยงเมื่อตลาดเกิดภาวะผันผวน

              ดังนั้นเทคนิคการกระจายความเสี่ยงที่ถูกต้อง จึงอาจหมายถึงการซื้อหุ้นไม่เกิน 10 ตัว แต่ทุกตัวอยู่ในคนละอุตสาหกรรมกัน ทำให้เมื่อตลาดเกิดความผันผวนผลกระทบที่ได้รับจะไม่เกิดขึ้นกับหุ้นทั้ง 10 ตัว แต่จะเป็นเฉพาะบางตัวเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ จึงสรุปง่าย ๆ ว่า การกระจายความเสี่ยง หมายถึงการลงทุนในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย เพื่อให้นักลงทุนถือหุ้นไม่มากนัก แต่สามารถศึกษาปัจจัยพื้นฐานของหุ้นแต่ละตัวได้อย่างละเอียด และทั่วถึง


3.jpg

จังหวะเข้าซื้อหุ้นไม่สำคัญเท่าจังหวะขายหุ้น


              จังหวะเข้าซื้อหุ้นมักมีหลายคนมาแนะนำว่า ควรซื้อหุ้นตัวไหนดี ซึ่งจริง ๆ แล้วจังหวะการเข้าซื้อหุ้นมีความสำคัญน้อยกว่าจังหวะการขายหุ้นที่ไม่ค่อยมีคนจะแนะนำ เพราะแน่นอนว่านักลงทุนทุกคนย่อมคาดหวังผลกำไรมหาศาลจากการขายหุ้น ซึ่งในความเป็นจริงของตลาด การทำกำไรมหาศาลจากการขายหุ้นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ไม่บ่อยนัก ดังนั้นนักลงทุนจึงควรศึกษาเรื่องกลยุทธ์การขายหุ้นให้เข้าใจ

              โดยกลยุทธ์แรกที่เราอยากแนะนำคือ การทยอยขายหุ้นเพื่อการสะสมกำไร สามารถทำได้ด้วยการกำหนดแผนการลงทุนว่า หากราคาหุ้นขึ้นมาอยู่ในจุดที่ต้องการแล้วก็จะขายหุ้นออกไป เช่น กำหนดให้ราคาหุ้นขึ้นไปทุก 10% จะทำการขายออก 5% เป็นต้น

              กลยุทธ์ต่อมาคือเทคนิคการสร้างสมดุลในพอร์ต โดยนักลงทุนจะกำหนดสัดส่วนการถือครองหุ้นลงไปในแผนการลงทุนอย่างชัดเจนว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่หุ้นวิ่งสู่ขาขึ้นจนทำให้สัดส่วนให้พอร์ตเกิดความเปลี่ยนแปลง เมื่อนั้นก็จะทยอยขายหุ้นออกมา เพื่อรักษาสมดุลภายในพอร์ตให้อยู่เท่าเดิม โดยเทคนิคนี้เป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่มนักลงทุนซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเจาะจงระยะเวลาสำหรับการสร้างสมดุลให้พอร์ตอย่างชัดเจน เช่น ทุก ๆ 3 เดือน หรือทุก ๆ 6 เดือน เป็นต้น โดยวิธีการนี้จะทำให้นักลงทุนมีกำหนดการซื้อ-ขายหุ้นอย่างชัดเจน อีกทั้งยังช่วยให้นักลงทุนเข้าใจตัวเองได้ดีว่า มีเป้าหมายในการลงทุนอย่างไร


เลือกลงทุนในหุ้นพื้นฐานดีในราคาที่เหมาะสม


              หุ้นพื้นฐานดีไม่ได้หมายถึงหุ้นที่มีราคาแพง แต่หมายถึงหุ้นของบริษัทที่ผ่านร้อน ผ่านหนาวมานานหลายปี โดยมีผลกำไร และขาดทุนปะปนกันไป แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะได้กำไรมากกว่าขาดทุน ดังนั้นหุ้นพื้นฐานดีจึงไม่ใช่หุ้นของบริษัทชื่อดังระดับโลกเสมอไป เพราะตามที่ได้กล่าวไปว่า นักลงทุนแต่ละคนล้วนมีเป้าหมายในการลงทุนแตกต่างกัน และไม่มีธุรกิจไหนที่จะเติมโตอยู่ในอันดับสูงสุดได้ตลอดไป

              การบริหารพอร์ตให้เหมาะสมจึงเป็นการลงทุนในหุ้นพื้นฐานดี เพื่อให้นักลงทุนได้ถือครองหุ้นอย่างสบายใจ และเมื่อไหร่ก็ตามที่ตลาดเกิดภาวะผันผวนจนทำให้พอร์ตเสียสัดส่วนจนเกินจะรับได้ ให้นักลงทุนหาจังหวะขายหุ้นดังที่ได้แนะนำไปในข้างต้น

              การบริหารพอร์ตไม่มีหลักสูตรตายตัว มีเพียงความเหมาะสมของหุ้นแต่ละตัวที่เลือกลงทุน โดยที่มีหลักการพื้นฐานคือ การกระจายความเสี่ยงเป็นสำคัญ ดังนั้นการลงทุนในหุ้นแต่ละตัวควรเป็นหุ้นที่มีพื้นฐานดี และอยู่ในอุตสาหกรรมที่แตกต่างกัน เพียงเท่านี้นักลงทุนก็จะสามารถถือครองหุ้นได้อย่างสบายใจ หมดปัญหาเรื่องการขาดทุนทั้งพอร์ต และประเด็นสำคัญอย่าลืมปรับพอร์ตตามกำหนดที่ได้วางไว้ในแผนการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ

เส้นทางการเติบโตและมูลค่าการลงทุนของ Microsoft

เส้นทางการเติบโตและมูลค่าการลงทุนของ Microsoft

ความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีของ Microsoft การลงทุนที่หลากหลาย และเงินปันผลที่มั่นคง มอบศักยภาพการลงทุนที่แข็งแกร่งและโอกาสในการเติบโตในระยะยาว

2024-05-17
คู่มือการคำนวณและการใช้อัตราส่วนชาร์ป

คู่มือการคำนวณและการใช้อัตราส่วนชาร์ป

อัตราส่วน Sharpe จะวัดผลตอบแทนที่ปรับตามความเสี่ยง โดยช่วยในการเลือกการลงทุนที่แข็งแกร่งโดยพิจารณาจากผลตอบแทนที่สูงขึ้นต่อหน่วยความเสี่ยง

2024-05-17
ภาพรวมโลหะที่ไม่ใช่เหล็กและการวิเคราะห์การลงทุน

ภาพรวมโลหะที่ไม่ใช่เหล็กและการวิเคราะห์การลงทุน

โลหะที่ไม่ใช่เหล็กทำงานได้ดีในการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่อาจมีความผันผวนได้เนื่องจากความเชื่อมั่น นักลงทุนควรติดตามอุปสงค์-อุปทานและแนวโน้มทั่วโลก

2024-05-17