ในโลกของการลงทุน การเทรด CFD (Contract for Difference) ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเนื่องจากสามารถให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจได้ในระยะเวลาอันสั้น อย่างไรก็ตาม การเทรด CFD ในสภาวะตลาดที่มีความผันผวนสูงนั้นมีความท้าทายและมีความเสี่ยงสูงขึ้นไปอีก
ในโลกของการลงทุน การเทรด CFD (Contract for Difference) ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเนื่องจากสามารถให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจได้ในระยะเวลาอันสั้น อย่างไรก็ตาม การเทรด CFD ในสภาวะตลาดที่มีความผันผวนสูงนั้นมีความท้าทายและมีความเสี่ยงสูงขึ้นไปอีก ความผันผวนของตลาดนี้จะหมายถึงความไม่แน่นอนที่สูง และมักเกิดการเปลี่ยนแปลงของราคาที่รวดเร็ว ส่งผลให้การคาดการณ์ราคาสินทรัพย์เป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น นักลงทุนจึงจำเป็นต้องมีการเตรียมตัวและวางแผนการเทรดอย่างละเอียด เพื่อรับมือกับความผันผวนนี้จนสามารถเก็บกำไรออกมาได้ตามเดิม
1. ความผันผวนของราคา
ทันทีที่เกิดความผันผวนขึ้น ราคาของสินทรัพย์สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในทันที อาจทำให้เกิดการขาดทุนอย่างรวดเร็วแบบตั้งตัวไม่ทัน โดยเฉพาะหากนักลงทุนไม่ได้กำหนดจุด Stop Loss เอาไว้ อาจเกิดการขาดทุนขึ้นทันทีในเวลาที่สั้นมาก จนไม่สามารถเปลี่ยนแผนหรือแก้ไขได้ทัน
2. การขาดสภาพคล่อง
ในสภาวะที่ตลาดมีผันผวนสูง สภาพคล่องในตลาดก็มักจะลดลงไปด้วย ซึ่งหมายความว่า มีจำนวนผู้ซื้อและผู้ขายน้อยลง เพราะทุกคนก็กลัวสภาวะที่คาดเดายากนี้เหมือนกัน การขาดสภาพคล่องจะทำให้นักลงทุนไม่สามารถปิดตำแหน่งการเทรดได้ตามราคาที่ต้องการ จึงทำให้เกิดความเสี่ยงในการขาดทุนสูงขึ้น
3. การตั้งค่าเลเวอเรจสูง
แม้เลเวอเรจสามารถช่วยเพิ่มกำไรได้มาก แต่ในสภาวะตลาดผันผวนสูงก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการขาดทุนได้มากเช่นกัน การใช้เลเวอเรจสูงเกินไปในช่วงที่ตลาดผันผวน นักลงทุนจะต้องรับมือกับความผันผวนที่มากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้การขาดทุนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วด้วย
4. จิตวิทยาการเทรด
ความผันผวนของตลาดสามารถสร้างความกดดันทางจิตใจให้นักลงทุนได้มาก โดยเฉพาะหากเป็นนักลงทุนหน้าใหม่ เมื่อต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของราคาที่รวดเร็ว นักลงทุนหลายคนจึงตัดสินใจผิดพลาด ไม่สามารถทำตามแผนที่วางไว้ได้ เมื่อออกนอกแผนจึงเกิดการขาดทุน และสภาพจิตใจย่ำแย่ลง ดังนั้นหากเริ่มรู้สึกว่าใจเต้นรัว ให้ออกจากเทรดไปสักระยะหนึ่งก่อน เมื่อตั้งสติได้จึงกลับเข้ามาทำตามแผนเทรดที่วางไว้
1. วางแผนการเทรดและการบริหารความเสี่ยง ต่อให้เป็นสภาวะปกติ การบริหารจัดการพอร์ตด้วยการตั้งค่าจุดหยุดขาดทุน (Stop Loss) และจุดทำกำไร (Take Profit) ก็ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นเสมอ และหากมีสภาวะผันผวนเกิดขึ้น นักลงทุนอาจจำเป็นต้องลดการตั้งค่าทุกจุดลง เหลือเพียง 5-10% ของสภาวะปกติ จะช่วยป้องกันการขาดทุนที่มากเกินไป และช่วยล็อกกำไรไว้ได้
2. ใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคเข้าช่วย เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิค อย่างการใช้เครื่องมือเช่น Moving Averages, Bollinger Bands และ Relative Strength Index (RSI) สามารถช่วยให้นักลงทุนเห็นสัญญาณการซื้อขายที่มีความน่าเชื่อถือมากกว่าการใช้อารมณ์ตัดสินใจได้ รวมไปถึงการตีเส้นแนวโน้ม ทั้งแนวรับและแนวต้าน จะยิ่งช่วยให้ซื้อขายได้แม่นยำขึ้น
3. ใช้กลยุทธ์การเทรดระยะสั้น การเทรดรายวัน (Day Trading) ด้วยการใช้กรอบเวลาที่สั้นลง จะช่วยให้นักลงทุนสามารถเก็บกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคาในช่วงสั้น ๆ และช่วยลดความเสี่ยงในการถือครองตำแหน่งนานเกินไป ในสภาวะที่ตลาดผันผวนได้ดี
4. ใช้ข้อมูลและข่าวสารตลาด ร่วมกับการเทรด การติดตามข่าวสารและข้อมูลเศรษฐกิจที่อาจส่งผลกระทบต่อตลาด จะช่วยให้นักลงทุนสามารถวางแผนการเทรดได้ดียิ่งขึ้น หากคุณยังเป็นมือใหม่ขอแนะนำว่าให้หยุดเทรดในช่วงที่เกิดข่าว เพื่อเช็กความผันผวนของสภาวะตลาดก่อน ส่วนหากเป็นมือเก๋าเทรดมานานแล้ว ให้ทำการวิเคราะห์ผลกระทบของข่าวสารต่อราคาสินทรัพย์ ก็จะช่วยให้สามารถวางแผนการเทรดตามข้อมูลที่มีได้ดีขึ้น
5. ควบคุมอารมณ์และวินัยในการเทรดให้ได้ การควบคุมอารมณ์ และใช้การตัดสินใจด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเท่านั้น จะทำให้นักลงทุนวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรอบคอบมากขึ้น จึงช่วยลดความเสี่ยงในการตัดสินใจที่ผิดพลาดจากอารมณ์ร่วมได้ หากฝึกฝนแบบนี้ได้จนเป็นวินัย จะช่วยให้นักลงทุนสามารถทำกำไรได้ในระยะยาว
6. เปลี่ยนไปใช้กลยุทธ์การเทรดแบบปรับตัว (Adaptive Trading Strategies) ทันที เมื่อเกิดสภาวะผันผวน แผนการเทรดแบบเดิมอาจจะใช้ไม่ได้ในขณะนั้น ให้นักลงทุนออกแบบแผนสำรองเพื่อรับมือขึ้นมา อย่างการเทรดตามแนวโน้ม (Trend Following) ที่จะสามารถทำกำไรจากการเคลื่อนไหวที่มีแนวโน้มชัดเจนได้ หรือใช้การเทรดแบบแกว่ง (Swing Trading) เพื่อเทรดในช่วงที่ราคามีการแกว่งตัวภายในแนวโน้มหลัก ก็จะช่วยให้นักลงทุนสามารถทำกำไรจากการเคลื่อนไหวระยะสั้น ๆ นี้ได้
7. การปรับปรุงและทบทวนกลยุทธ์การเทรดอย่างต่อเนื่อง หลังจากหยุดเทรดแล้ว ไม่ว่าผลการเทรดจะออกมาแบบไหน การวิเคราะห์ผลการเทรดที่เกิดขึ้นจะช่วยให้นักลงทุนมองเห็นโอกาสและความผิดพลาดได้ดีขึ้น เพราะหลังเทรดอารมณ์ของนักลงทุนมักจะหยุดนิ่ง จึงสามารถใช้จังหวะนี้ช่วยปรับปรุงกลยุทธ์การเทรดให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้
แม้ว่าการเทรด CFD ในสภาวะตลาดผันผวนสูงนั้นมีความเสี่ยงกว่าปกติ แต่ก็เป็นโอกาสที่น่าสนใจหากมีการเตรียมตัวและวางกลยุทธ์อย่างเหมาะสม ความสำคัญของการบริหารความเสี่ยง และการตัดสินใจที่มีการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบคอบ จึงไม่สามารถมองข้ามได้ ในบางครั้งก็อาจจำเป็นต้องใช้วิธีอื่น ๆ นอกจากแผนการเทรดที่เคยทำร่วมด้วย เพื่อให้นักลงทุนสามารถทำกำไรและลดความเสี่ยงในการขาดทุนได้ เพราะการใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสมในสภาวะตลาดที่แตกต่างกัน คือ กุญแจสำคัญในการสร้างกำไรในระยะยาว ความรู้และการเตรียมตัวอย่างดีก่อนเข้าเทรด จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการเผชิญกับสภาวะตลาดที่ผันผวนและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ