Stop Loss คือเครื่องมือสำคัญสำหรับนักเทรด เรียนรู้ 4 กลยุทธ์การใช้งาน เพื่อลดความเสี่ยงและปกป้องพอร์ตการลงทุนของคุณ
หากคุณเป็นหนึ่งในนักลงทุนหรือนักเทรดที่ยังไม่แน่ใจว่า stop loss คืออะไร หรือคิดว่า “ฉันเทรดโดยไม่ต้องใช้ stop loss ก็ได้” บทความนี้เขียนขึ้นมาสำหรับคุณโดยเฉพาะ เพราะการไม่ใช้ stop loss เปรียบเสมือนการขับรถโดยไม่ใส่เข็มขัดนิรภัยเพื่อป้องกันความเสี่ยงเกินไป
การตั้ง stop loss ไม่ได้เป็นเพียงแค่เทคนิคหนึ่ง แต่เป็นส่วนสำคัญของกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงที่นักเทรดมืออาชีพทุกคนใช้ และที่สำคัญที่สุด คือ มันช่วย ตัดขาดทุน หยุดความเสี่ยง ก่อนที่พอร์ตของคุณจะพังยับเยิน
Stop Loss คืออะไร?
ในทางเทคนิค stop loss คือ คำสั่งที่ส่งไปยังโบรกเกอร์ให้ปิดการซื้อขายเมื่อราคาขยับสวนทางกับการคาดการณ์ของคุณถึงระดับที่กำหนดไว้ล่วงหน้า กล่าวอีกนัยหนึ่งคือเป็นการตั้ง "จุดตัดขาดทุน" เพื่อไม่ให้คุณสูญเสียมากเกินไปในกรณีที่ตลาดเคลื่อนไหวผิดทาง
ตัวอย่างเช่น หากคุณซื้อ EUR/USD ที่ราคา 1.1000 และตั้ง stop loss ไว้ที่ 1.0950 นั่นหมายความว่า หากราคาตกลงมาถึง 1.0950 ระบบจะขายออกโดยอัตโนมัติเพื่อจำกัดการขาดทุน
ทำไมการใช้ Stop Loss ถึงสำคัญ?
การใช้ Stop Loss ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการเทรด เพราะมันไม่ใช่แค่เครื่องมือสำหรับ “หยุด” ความเสียหายเท่านั้น แต่ยังเป็นเกราะป้องกันที่ช่วยให้นักเทรดรักษาวินัย และควบคุมอารมณ์ขณะลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลายคนอาจยังไม่เข้าใจว่า Stop Loss คือกลไกที่ช่วยจำกัดขาดทุนไม่ให้ลุกลาม จนกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่กระทบพอร์ตการลงทุน การมี Stop Loss จึงช่วยให้คุณไม่ถูกครอบงำด้วยอารมณ์ เช่น ความโลภ ความหวัง หรือความกลัว ซึ่งมักเป็นสาเหตุที่ทำให้นักเทรดถือครองสินทรัพย์ที่ขาดทุนต่อไปโดยไร้แผนที่ชัดเจน
หากเปรียบเทียบนักเทรดสองคน คนแรกที่ใช้ Stop Loss มักสามารถวางแผนและตั้งเป้าหมายการลงทุนได้อย่างมีระบบ สามารถควบคุมความเสียหายและเรียนรู้จากความผิดพลาดได้ ขณะที่อีกคนที่ไม่ใช้ Stop Loss มักปล่อยให้ความหวังหรืออารมณ์เป็นตัวนำทาง ซึ่งเสี่ยงต่อการตัดสินใจผิดพลาด และอาจนำไปสู่การล้างพอร์ตในที่สุด ด้วยเหตุนี้ Stop Loss จึงไม่ใช่เพียงเครื่องมือ แต่คือวินัยและแนวทางการบริหารความเสี่ยงที่นักเทรดทุกคนควรมี
4 กลยุทธ์การตั้ง Stop Loss อย่างมีประสิทธิภาพ
การตั้ง Stop Loss อย่างถูกต้องเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารความเสี่ยงในการเทรด เพราะการตั้งแบบสุ่มหรือไม่มีหลักการ อาจทำให้คุณขาดทุนมากกว่าที่ควรจะเป็น เพื่อช่วยให้นักเทรดมีแนวทางที่ชัดเจนและลดความเสี่ยงได้ในระยะยาว เราขอนำเสนอ 4 กลยุทธ์การตั้ง Stop Loss อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สามารถนำไปปรับใช้กับกลยุทธ์ของคุณได้ทันที
1. ตั้ง Stop Loss ตามแนวรับ-แนวต้าน
นี่คือหนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยอ้างอิงจากหลักการวิเคราะห์ทางเทคนิค ซึ่งมองว่าแนวรับ (Support) และแนวต้าน (Resistance) เป็นจุดสำคัญที่ราคามักจะมีปฏิกิริยา หากคุณเปิด Long Position ที่จุด Breakout ของแนวต้าน การตั้ง Stop Loss ควรอยู่ต่ำกว่าจุด Breakout เล็กน้อย เพื่อป้องกันความเสี่ยงหากราคากลับตัวลงมา
ข้อดี:
ใช้หลักการวิเคราะห์กราฟที่มีเหตุผล
ลดโอกาสที่ Stop Loss จะถูกกระทบจากการเหวี่ยงของราคาแบบไร้ทิศทาง
กลยุทธ์นี้เหมาะสำหรับนักเทรดที่เน้นการอ่านกราฟเป็นหลัก และต้องการตั้ง Stop Loss ในจุดที่มีนัยสำคัญทางเทคนิค เพื่อรักษาความสมดุลระหว่างความปลอดภัยและโอกาสในการทำกำไร
2. ใช้ ATR (Average True Range) วัดความผันผวน
อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่ช่วยให้การตั้ง Stop Loss มีความยืดหยุ่นและแม่นยำยิ่งขึ้น คือการใช้ค่า ATR (Average True Range) ซึ่งเป็นเครื่องมือทางเทคนิคที่ช่วยวัดความผันผวนของราคาย้อนหลังในช่วงเวลาหนึ่ง คุณสามารถนำค่า ATR ที่ได้มาใช้เป็นตัวกำหนดระยะห่างของ Stop Loss ให้สอดคล้องกับสภาวะตลาดในขณะนั้น เช่น หาก ATR เท่ากับ 20 จุด อาจตั้ง Stop Loss ห่างจากจุดเข้าเทรดประมาณ 1.5 เท่าของค่า ATR ซึ่งจะเท่ากับ 30 จุด
ข้อดี:
ปรับความกว้างของ Stop Loss ให้เหมาะสมกับความผันผวนของตลาดในช่วงเวลานั้น
ช่วยลดโอกาสการถูกตัดขาดทุนจากการเคลื่อนไหวของราคาที่เป็นธรรมชาติ ไม่ใช่สัญญาณกลับตัวจริง
กลยุทธ์นี้เหมาะกับตลาดที่มีความผันผวนสูง หรือช่วงที่ราคาขึ้นลงแรง เพราะช่วยให้ Stop Loss ไม่ถูกกระทบง่ายโดยความเคลื่อนไหวทั่วไปของตลาด แต่ยังคงควบคุมความเสี่ยงได้อย่างมีระบบ
3. ตั้ง Stop Loss ตามเปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
กลยุทธ์นี้เหมาะสำหรับเทรดเดอร์ที่ต้องการควบคุมความเสี่ยงอย่างมีวินัยและเป็นระบบ โดยการตั้ง Stop Loss ให้สัมพันธ์กับขนาดของพอร์ตการลงทุน เช่น อาจกำหนดว่าในการเทรดแต่ละครั้งจะไม่ยอมขาดทุนเกิน 1–2% ของเงินทุนทั้งหมด หากคุณมีทุน 100,000 บาท และต้องการจำกัดความเสี่ยงไว้ที่ 2% ต่อครั้ง ก็หมายความว่า Stop Loss ของคุณต้องตั้งอยู่ในจุดที่หากราคาชนแล้ว จะขาดทุนไม่เกิน 2,000 บาท
ข้อดี:
-ช่วยบริหารความเสี่ยงและเงินทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการรักษาเสถียรภาพของพอร์ตในระยะยาว
-เป็นวิธีที่ลดโอกาสล้างพอร์ตได้อย่างเห็นผล แม้จะเทรดผิดพลาดหลายครั้งติดต่อกัน
กลยุทธ์นี้ไม่เพียงแค่ช่วยให้คุณรู้ว่า "ควรยอมแพ้เมื่อไหร่" แต่ยังช่วยให้การเทรดของคุณอยู่ภายใต้แผน ไม่ถูกอารมณ์ครอบงำ และสามารถรักษาพอร์ตให้ยืนระยะในเกมการเทรดได้ยาวนานยิ่งขึ้น
4. ใช้ Stop Loss แบบ Trailing Stop
Trailing Stop คือรูปแบบของ Stop Loss ที่สามารถ “ขยับตามราคา” ได้แบบอัตโนมัติ หากราคาขยับไปในทิศทางที่คุณเปิดออเดอร์ไว้ (เช่น ขึ้นในฝั่ง Long หรือ ลงในฝั่ง Short) Stop Loss ก็จะเลื่อนตามขึ้นหรือลง โดยรักษาระยะห่างที่กำหนดไว้ เช่น ตั้ง Trailing Stop ห่างจากราคาปัจจุบัน 10 จุด หากราคาขยับขึ้น Stop Loss ก็จะขยับตาม แต่ถ้าราคาหันกลับ ระบบจะปิดออเดอร์ทันทีที่ราคาย้อนมาชนจุด Stop Loss ที่เลื่อนตามไว้
ข้อดี:
-ช่วยล็อกกำไรบางส่วนที่ได้มา โดยไม่ต้องเฝ้าหน้าจอตลอดเวลา
-ป้องกันไม่ให้สูญเสียกำไรที่ทำไว้ หากตลาดกลับตัวอย่างรวดเร็ว
-เป็นเครื่องมือที่เหมาะสำหรับตลาดที่มีแนวโน้ม (Trending Market)
การใช้ Trailing Stop ช่วยให้คุณ “ปล่อยให้กำไรวิ่ง” โดยไม่ต้องปิดออเดอร์เร็วเกินไป พร้อมทั้งยังมีหลักประกันในกรณีที่ตลาดเปลี่ยนทิศแบบไม่คาดคิด ช่วยให้คุณได้ทั้งกำไร และความสบายใจในเวลาเดียวกัน
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Stop Loss
หลายคนมองว่า Stop Loss เป็นอุปสรรคต่อการทำกำไร หรือเป็นเครื่องมือสำหรับนักเทรดที่ขี้กลัวและไม่กล้าเสี่ยง แต่ในความเป็นจริงแล้ว Stop Loss กลับเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้การเทรดมีความมั่นคงและยั่งยืนมากขึ้น โดยเฉพาะในตลาดที่มีความผันผวนสูง
Stop Loss ไม่ใช่ "ประกันความเสียหาย" ที่คุณซื้อไว้ แต่เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงอย่างมีแบบแผน มันไม่ได้ "ขัดขวาง" กำไร แต่กลับช่วย “รักษา” กำไรและเงินทุนให้สามารถอยู่รอดในระยะยาวได้ ที่สำคัญที่สุด Stop Loss ไม่ใช่ "จุดอ่อน" ของนักเทรด แต่เป็นสัญญาณของความมีวินัยและความเป็นมืออาชีพที่รู้ว่าเมื่อใดควรยอมถอย เพื่อปกป้องทุนและโอกาสในการกลับมาใหม่อย่างแข็งแรงกว่าเดิม
แล้ว Stop-Limit คืออะไร?
Stop-Limit คือคำสั่งซื้อขายแบบผสมที่รวมจุดเด่นของ “Stop Order” และ “Limit Order” เข้าไว้ด้วยกัน โดยจะทำงานเมื่อราคาตลาดแตะระดับ Stop ที่คุณกำหนด จากนั้นจะกลายเป็นคำสั่งแบบ Limit ซึ่งจะเปิดออเดอร์ก็ต่อเมื่อราคายังอยู่ในระดับที่คุณยอมรับได้ตามที่ตั้งไว้ใน Limit นั่นเอง
ตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น:
ราคาปัจจุบัน: 114.145
คุณตั้ง Stop ที่ 114.155
และตั้ง Limit ไว้ที่ 114.135
ในกรณีนี้ หากราคาพุ่งขึ้นไปถึง 114.155 คำสั่งซื้อจะถูก "กระตุ้น" (Trigger) แต่จะเปิดออเดอร์ก็ต่อเมื่อราคาย่อลงมาแตะ 114.135 ซึ่งหมายถึงคุณจะได้เข้าซื้อที่ราคาดีกว่า
ข้อดี:
-ช่วยให้คุณ “เข้าตลาด” เมื่อเห็นสัญญาณบางอย่าง (เช่น ราคาทะลุแนวต้าน)
-แต่ก็ยังควบคุม “ราคาที่รับได้” เพื่อไม่ให้หลุดกรอบที่คุณพอใจ
ข้อควรระวัง:
หากราคาวิ่งผ่านระดับ Stop แล้วไม่กลับลงมาถึง Limit ที่ตั้งไว้ คำสั่งจะ ไม่ถูกเปิด เท่ากับว่าคุณ “พลาดโอกาสเทรด” แม้จะเห็นสัญญาณแล้วก็ตาม
Stop-Limit จึงเหมาะกับนักเทรดที่ต้องการ "ความแม่นยำในการเข้าตลาด" และรับความเสี่ยงเรื่อง “พลาดออเดอร์” ได้ในระดับหนึ่งครับ หากต้องการเปรียบเทียบ Stop Loss, Stop Limit และ Limit Order ดังตารางตามนี้
ประเภทคำสั่ง | จุดเริ่มทำงาน (Trigger) | เงื่อนไขในการซื้อ/ขาย | ข้อดี | ข้อควรระวัง |
Stop Loss | เมื่อราคาตลาดแตะระดับ Stop | เข้าซื้อ/ขาย ทันทีที่ราคาตลาด | หยุดขาดทุนอัตโนมัติ ป้องกันพอร์ตล้างพอร์ต | อาจถูกปิดออเดอร์ในจังหวะเหวี่ยงของราคา |
Limit Order | ไม่ต้องรอราคา Trigger | เข้าซื้อ/ขายเมื่อราคาถึง Limit | เข้าตลาดในราคาที่ต้องการ ช่วยควบคุมต้นทุน | ออเดอร์อาจไม่ถูกเปิด ถ้าราคาไม่แตะตามต้องการ |
Stop-Limit Order | เมื่อราคาตลาดแตะระดับ Stop | เปิดออเดอร์เฉพาะเมื่อราคายังอยู่ในระดับ Limit | ควบคุมจุดเข้าได้แม่นยำ เหมาะกับแผนเทรดขั้นสูง | ถ้าราคาไม่แตะระดับ Limit หลัง Trigger จะไม่เปิดออเดอร์ |
สรุปแล้ว Stop Loss คือ เครื่องมือที่สำคัญสำหรับนักเทรดทุกคน เพราะมันช่วยให้คุณสามารถควบคุมความเสี่ยงได้อย่างมีระเบียบและมีวินัย ไม่ว่าคุณจะเป็นมือใหม่หรือมืออาชีพก็ตาม การตั้ง stop loss อย่างมีสติช่วยป้องกันการขาดทุนใหญ่จากความผิดพลาดที่เกิดจากอารมณ์ เช่น ความโลภหรือความกลัว ซึ่งสามารถทำให้คุณตัดสินใจผิดพลาดและสูญเสียพอร์ตการลงทุนในที่สุด
อย่าปล่อยให้ความคิดที่ว่า “มันจะไม่เกิดกับฉัน” ทำให้คุณละเลยการใช้ Stop Loss คือ ตัวช่วยที่จะทำให้คุณมีการบริหารความเสี่ยงอย่างมีระบบ และสามารถดำเนินการในตลาดที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนได้อย่างมั่นใจ หากคุณยังไม่เคยใช้ Stop Loss มาก่อน การเริ่มต้นใช้มันในวันนี้จะช่วยให้พอร์ตการลงทุนของคุณ "อยู่รอด" และเติบโตในระยะยาวอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
คำเตือน: เอกสารนี้จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น และไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อเป็นคำแนะนำทางการเงิน การลงทุน หรือคำแนะนำอื่นใดที่ควรอ้างอิง (และไม่ควรพิจารณาว่าเป็นคำแนะนำ) ความคิดเห็นใดๆ ในเอกสารนี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำของ EBC หรือผู้เขียนว่ากลยุทธ์การลงทุน หลักทรัพย์ ธุรกรรม หรือการลงทุนใดๆ เหมาะสมกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ
ค้นพบวิธีการทำงานของการแยกทางแบบขาลง เหตุใดจึงส่งสัญญาณว่าโมเมนตัมกำลังอ่อนตัวลง และผู้ซื้อขายใช้มันเพื่อคาดการณ์ภาวะขาลงของตลาดได้อย่างไร
2025-04-30รับข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับราคาเศษทองแดงประจำเดือนเมษายน พ.ศ. 2568 ดูอัตราปัจจุบัน แนวโน้มตลาด และสิ่งที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสำหรับผู้ขาย ผู้ซื้อ และผู้รีไซเคิล
2025-04-30ตัวบ่งชี้ Aroon และค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ติดตามแนวโน้ม แต่ตัวใดมีประสิทธิภาพมากกว่าสำหรับกลยุทธ์การซื้อขายของคุณ เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้งานและกลยุทธ์ของตัวเหล่านี้
2025-04-30