ทำความรู้จักความสำคัญของดัชนีดอลลาร์ในตลาดโลก

2024-03-05
สรุป

ชวนทุกคนทำความรู้จักกับดัชนีดอลลาร์ หรือ Dollar Index ว่ามีความสำคัญอย่างไรต่อสกุลเงินทั่วโลก และจะส่งผลต่อการลงทุนอย่างไร

สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นสกุลเงินที่มีอิทธิพล และเป็นสกุลเงินหลักของโลก โดยสามารถสังเกตได้ง่าย ๆ จากราคาของสินทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน น้ำตาล หรือทองคำ ล้วนใช้หน่วยราคาเป็นดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งหมด หรือแม้แต่การซื้อขายระหว่างประเทศ และเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ก็ยังใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และเพราะเป็นสกุลเงินหลัก จึงมีอิทธิพลต่อการค้าและการลงทุน โดยในบทความนี้เราจะนำทุกท่านไปรู้จักกับดัชนีดอลลาร์ หรือ Dollar Index พร้อมกัน


ชวนทำความรู้จักดัชนีดอลลาร์


              มีสมมุติฐานเกี่ยวกับสกุลเงินว่า หากเงินสกุลใดมีความต้องการสูง เงินสกุลนั้นก็จะแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น ซึ่งในขณะเดียวกันเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ก็นับเป็นสกุลที่มีความต้องการทั่วโลก การจะวัดว่าดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นขนาดไหน จึงถูกจัดทำเป็นดัชนีดอลลาร์ หรือ Dollar Index

              โดยในปี 1973 ดัชนีดอลลาร์ได้ถูกจัดทำขึ้นหลังจากการล่มสลายของ Bretton Woods โดยในช่วงแรกดัชนีดอลลาร์ได้กำหนดค่าเอาไว้ที่ 100 และมีวิธีการวัดความแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ ด้วยการนำไปเปรียบเทียบเงินสกุลสำคัญอีก 6 สกุลด้วยกัน ได้แก่ เงินยูโร, เงินปอนด์ประเทศอังกฤษ, เงินเยนประเทศญี่ปุ่น, เงินดอลลาร์ประเทศแคนาดา, เงินโครนาประเทศสวีเดน, และเงินฟรังก์สวิส

              โดยยกตัวอย่างในช่วงปี 2565 ดัชนีดอลลาร์มีค่าอยู่ที่ 106.40 เมื่อเทียบกับสกุลเงินทั้ง 6 สกุลเงิน จึงสามารถอ่านค่าได้ว่า ดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับตัวแข็งค่าขึ้นนั่นเอง และอีกหนึ่งตัวอย่าง คือ ในช่วงปี 2551 ดัชนีดอลลาร์มีค่าต่ำสุดอยู่ที่ 70 เมื่อเทียบกับ 6 สกุลเงิน จึงอ่านค่าได้ว่า ดอลลาร์มีความอ่อนตัว ซึ่งในปีเดียวกันนี้เอง เป็นปีที่เราได้พบกับวิกฤตทางการเงิน ซึ่งก็คือ วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ โดยที่ในช่วงเวลานั้น ประเทศสหรัฐอเมริกาได้อัดฉีดเงินของประเทศเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯ เกิดความอ่อนตัว

5.jpg

ดัชนีดอลลาร์ กับบทบาทสำคัญในตลาดโลก


              ความแข็งแกร่งของดัชนีดอลลาร์ สามารถใช้ประเมินแนวโน้มของราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ ได้ ด้วยวิธีวัดความแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับเงิน 6 สกุลหลัก โดยหากดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น จะหมายความว่า เงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีค่าเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เราใช้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ น้อยลงสำหรับการซื้อสินค้าในปริมาณเท่าเดิม ซึ่งหมายความว่า ราคาสินค้าจะถูกลง เมื่อนำไปเทียบกับค่าเงิน

              เช่น ถ้าดัชนีดอลลาร์ปรับตัวสูงขึ้น จะทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ ปรับตัวลดลงไปด้วย โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าสำคัญทั่วโลก อย่างน้ำมัน น้ำตาล และข้าว เป็นต้น แต่ถ้าหากดัชนีดอลลาร์ปรับตัวต่ำลง ราคาสินค้าโภคภัณฑ์จะปรับตัวเพิ่มขึ้น ยกเว้นสำหรับทองคำ ที่มีลักษณะวิ่งสวนทางกับดอลลาร์สหรัฐฯ นักลงทุนจะสามารถใช้ดัชนีดอลลาร์ เพื่อหาแนวโน้มของราคาทองคำได้ โดยถ้าหากดัชนีดอลลาร์ปรับตัวสูงขึ้น ราคาทองคำจะมีราคาถูกลง แต่ถ้าหากดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวลดลง ราคาทองคำก็จะมีราคาสูงขึ้น

              ในส่วนของเงินทุน หรือ Fund Flow ดัชนีดอลลาร์จะบ่งชี้ถึงทิศทางการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติได้ โดยหากดัชนีดอลลาร์ปรับตัวสูงขึ้น Fund Flow จากประเทศอื่น ๆ จะไหลเข้ามาลงทุนยังประเทศสหรัฐอเมริกามากขึ้น เพราะนักลงทุนย่อมมองหาผลตอบแทนจากสกุลเงินที่มีความแข็งค่ามากที่สุด ดังนั้นในทางกลับกัน หากดัชนีดอลลาร์ปรับตัวลดลง Fund Flow ก็จะเทออกจากประเทศสหรัฐอเมริกา ไปสู่ประเทศอื่น ๆ แทน เปรียบเทียบให้เห็นภาพง่าย ๆ หากเงินบาทไทยแข็งค่า เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เราก็จะได้เห็นเม็ดเงินจำนวนมหาศาลไหลเข้าสู่ประเทศ ซึ่งจะทำให้ค่าเงินบาทยิ่งแข็งค่าขึ้นไปอีก และการแข็งค่านี้ก็เป็นตัวดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาเก็งกำไรกับค่าเงินบาทมากขึ้น

              ดัชนีดอลลาร์มีความสำคัญ และมีอิทธิพลต่อราคาสินค้าทั่วโลก รวมไปถึงมีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางการลงทุนของนักลงทุน ดังนั้นหากนักลงทุนต้องการเครื่องมือที่ช่วยประเมินแนวโน้มของค่าเงิน สินค้า และเศรษฐกิจ การศึกษาดัชนีดอลลาร์ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ก็เป็นเรื่องสำคัญที่ควรเร่งลงมือทำ ซึ่งในปัจจุบันนี้ ดัชนีดอลลาร์ยังคงใช้วิธีวัดความแข็งค่าแบบเดิมอยู่ ซึ่งนั่นหมายความว่า ดัชนีดอลลาร์มีความเสถียรและน่าเชื่อถือสูงที่สุดในบรรดาทุกสกุลเงินทั่วโลก ที่นักลงทุนสามารถเก็บเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การเทรดได้เช่นกัน

เส้นทางการเติบโตและมูลค่าการลงทุนของ Microsoft

เส้นทางการเติบโตและมูลค่าการลงทุนของ Microsoft

ความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีของ Microsoft การลงทุนที่หลากหลาย และเงินปันผลที่มั่นคง มอบศักยภาพการลงทุนที่แข็งแกร่งและโอกาสในการเติบโตในระยะยาว

2024-05-17
คู่มือการคำนวณและการใช้อัตราส่วนชาร์ป

คู่มือการคำนวณและการใช้อัตราส่วนชาร์ป

อัตราส่วน Sharpe จะวัดผลตอบแทนที่ปรับตามความเสี่ยง โดยช่วยในการเลือกการลงทุนที่แข็งแกร่งโดยพิจารณาจากผลตอบแทนที่สูงขึ้นต่อหน่วยความเสี่ยง

2024-05-17
ภาพรวมโลหะที่ไม่ใช่เหล็กและการวิเคราะห์การลงทุน

ภาพรวมโลหะที่ไม่ใช่เหล็กและการวิเคราะห์การลงทุน

โลหะที่ไม่ใช่เหล็กทำงานได้ดีในการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่อาจมีความผันผวนได้เนื่องจากความเชื่อมั่น นักลงทุนควรติดตามอุปสงค์-อุปทานและแนวโน้มทั่วโลก

2024-05-17