วิธีการกู้ยืมเงินจากหุ้นใน 3 ขั้นตอน

2025-06-10
สรุป

เรียนรู้วิธีการกู้ยืมโดยใช้หุ้นเป็นหลักประกันใน 3 ขั้นตอนอย่างชัดเจน โดยไม่ต้องขายสินทรัพย์หรือสละความเป็นเจ้าของ พร้อมใช้ทางเลือกทางการเงินที่มีหลักประกันอย่างแม่ยำ

หากคุณเป็นเจ้าของหุ้นและกำลังมองหาทางเพิ่มสภาพคล่องโดยไม่ต้องขายการลงทุน การกู้ยืมโดยใช้หุ้นเป็นหลักประกันอาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสม วิธีนี้ช่วยให้คุณใช้มูลค่าพอร์ตหุ้นที่มีอยู่เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในการขอสินเชื่อ โดยที่ยังสามารถถือครองหุ้นไว้ต่อไปได้


นักลงทุนจำนวนไม่น้อยเลือกวิธีนี้เพื่อเปลี่ยนมูลค่าหุ้นให้กลายเป็นเงินสด สำหรับใช้ในโอกาสทางธุรกิจ ครอบคลุมค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน หรือเพื่อเพิ่มความคล่องตัวทางการเงิน อย่างไรก็ตาม การกู้ยืมลักษณะนี้ก็มีความเสี่ยง จึงควรศึกษาและเข้าใจขั้นตอนต่าง ๆ ให้ชัดเจนก่อนตัดสินใจกู้เงินด้วยวิธีนี้


วิธีการกู้ยืมโดยใช้หุ้นเป็นหลักประกันใน 3 ขั้นตอน

วิธีการกู้ยืมเงินโดยใช้หุ้นเป็นหลักประกัน

ขั้นตอนที่ 1: ทำความเข้าใจแนวคิดของการกู้ยืมด้วยหุ้น


ขั้นแรกของการเรียนรู้วิธีกู้ยืมโดยใช้หุ้นเป็นหลักประกัน คือการเข้าใจแนวคิดพื้นฐานของการกู้ยืมรูปแบบนี้ ซึ่งหมายถึงการขอสินเชื่อโดยนำหุ้นที่คุณถืออยู่มาใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน โดยทั่วไปจะทำผ่านสินเชื่อแบบมาร์จิ้น (Margin Loan) หรือสินเชื่อที่ใช้หลักทรัพย์เป็นหลักประกัน (Securities-Based Loan) ที่เสนอโดยบริษัทโบรกเกอร์หรือตัวแทนทางการเงิน การกู้ยืมรูปแบบนี้ทำให้คุณสามารถเข้าถึงเงินทุนได้โดยไม่ต้องขายหุ้นที่ถืออยู่ ซึ่งหมายความว่าคุณยังสามารถรับผลตอบแทนจากการเพิ่มมูลค่าหุ้นหรือเงินปันผลได้ตามปกติ


จำนวนเงินที่สามารถกู้ได้จะพิจารณาจากมูลค่าของพอร์ตการลงทุน โดยสถาบันการเงินส่วนใหญ่มักใช้สัดส่วนสินเชื่อต่อมูลค่าทรัพย์ (Loan-to-Value: LTV) ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 50%–70% ตัวอย่างเช่น หากคุณมีหุ้นมูลค่า 100,000 ปอนด์ คุณอาจสามารถกู้ได้สูงสุดถึง 70,000 ปอนด์ ทั้งนี้ จำนวนเงินที่กู้ได้จริงอาจแตกต่างกันตามความผันผวนและประเภทของหลักทรัพย์ที่ถืออยู่


อย่างไรก็ตาม ต้องตระหนักว่าสินเชื่อแบบนี้ถือเป็น “สินเชื่อที่มีหลักประกัน” หากมูลค่าของหุ้นลดลงมาก ผู้ให้กู้อาจออกคำเตือนให้คุณเติมเงินเข้าไป (Margin Call) หรือบังคับขายหุ้นบางส่วนเพื่อรักษาสภาพของเงินกู้ไว้ ดังนั้น การเข้าใจความเสี่ยงเหล่านี้จึงเป็นเรื่องสำคัญก่อนตัดสินใจกู้ยืมด้วยวิธีนี้


ขั้นตอนที่ 2: เลือกประเภทสินเชื่อที่เหมาะสม

เมื่อคุณเข้าใจหลักการของการกู้ยืมด้วยหุ้นแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการเลือกวิธีการกู้ที่เหมาะกับเป้าหมายทางการเงินของคุณ ซึ่งมีตัวเลือกหลายรูปแบบ โดยแต่ละประเภทมีข้อดีข้อเสียและข้อควรพิจารณาแตกต่างกัน


รูปแบบที่พบได้บ่อยคือ สินเชื่อมาร์จิ้น (Margin Loan) ซึ่งโบรกเกอร์ส่วนใหญ่จะให้บริการ โดยคุณสามารถกู้เงินโดยตรงจากบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของคุณได้ ซึ่งดอกเบี้ยมักคิดรายวัน และมีความยืดหยุ่นในการชำระเงินคืนสูง เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการนำเงินไปลงทุนเพิ่ม แต่ก็มีความเสี่ยงสูงในช่วงที่ตลาดผันผวน


ทางเลือกต่อไปคือ สินเชื่อแบบมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (Securities-Backed Line of Credit) ซึ่งมักให้บริการโดยธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทจัดการลงทุน มีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า และเงื่อนไขที่ผ่อนปรนมากกว่าสินเชื่อมาร์จิ้น โดยทั่วไปจะไม่เน้นนำเงินไปลงทุนต่อ แต่เหมาะสำหรับใช้จ่ายส่วนตัวหรือธุรกิจ


อีกทางเลือกหนึ่งคือ สินเชื่อแบบโครงสร้างพิเศษ (Structured Loan) ซึ่งมักออกแบบสำหรับนักลงทุนที่มีสินทรัพย์มูลค่าสูง มีเงื่อนไขที่ซับซ้อนมากขึ้น แต่ก็มีความยืดหยุ่นและวงเงินที่สูงกว่าทั่วไป


ไม่ว่าคุณจะเลือกแบบใด ควรเปรียบเทียบค่าธรรมเนียม อัตราดอกเบี้ยและชื่อเสียงของผู้ให้บริการ พร้อมทั้งทำความเข้าใจรายละเอียดของสัญญาให้ชัดเจน โดยเฉพาะวิธีจัดการกรณีที่มูลค่าหุ้นลดลง เพื่อให้สามารถกู้ยืมได้อย่างรอบคอบและปลอดภัย



ขั้นตอนที่ 3: ยื่นคำขอและบริหาจัดการสินเชื่ออย่างระมัดระวัง

ขั้นตอนสุดท้ายคือการยื่นขอกู้และบริหารจัดการเงินกู้ที่ได้รับอย่างมีประสิทธิภาพ คุณจะต้องเปิดบัญชีมาร์จิ้น หรือขอวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินที่ให้บริการ โดยอาจต้องเตรียมข้อมูลทางการเงินเอกสารยืนยันสินทรัพย์ และรายการหุ้นที่คุณต้องการใช้เป็นหลักประกัน


เมื่อบัญชีได้รับการอนุมัติ และหุ้นถูกโอนไปเป็นหลักประกัน เงินกู้จะพร้อมใช้งานภายในไม่กี่วัน อย่าลืมตรวจสอบรายละเอียดของข้อตกลงให้ครบถ้วน ทั้งในส่วนของระยะเวลาชำระหนี้ การคิดดอกเบี้ย และข้อจำกัดต่าง ๆ ในการใช้เงินกู้


การบริหารจัดการเงินกู้มีความสำคัญอย่างมาก เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกบังคับขายหุ้น ควรติดตามมูลค่าพอร์ตของคุณอย่างสม่ำเสมอ และรักษาระดับความปลอดภัยไว้เหนือเกณฑ์ที่กำหนด หลีกเลี่ยงการนำเงินกู้ไปใช้ในความเสี่ยงที่ไม่จำเป็น และวางแผนการชำระเงินคืนให้ชัดเจน โปรดจำไว้ว่าการรู้วิธีขอกู้เป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่การบริหารความเสี่ยงและจัดการเงินกู้อย่างรอบคอบ คือสิ่งที่จะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จและไม่ถูกตลาดเล่นงานโดยไม่ทันตั้งตัว


สุดท้ายนี้ การปรึกษาที่ปรึกษาทางการเงินก่อนทำสัญญากู้ยืมที่มีหุ้นเป็นหลักประกันก็เป็นเรื่องที่ควรทำ โดยเฉพาะหากคุณตั้งใจนำเงินไปใช้ในโครงการใหญ่หรือการลงทุนระยะยาว


ทำไมนักลงทุนจึงเลือกกู้ยืมโดยใช้หุ้นเป็นหลักประกัน?

ทำไมนักลงทุนจึงเลือกกู้ยืมโดยใช้หุ้นเป็นหลักประกัน?

นักลงทุนจำนวนมากเลือกใช้วิธีกู้ยืมโดยใช้หุ้นเป็นหลักประกัน เพราะให้ทั้งความยืดหยุ่นและการควบคุมที่มากกว่า แทนที่จะขายหุ้นที่ถืออยู่และต้องเสียภาษีกำไรจากการขาย (Capital Gains Tax) นักลงทุนสามารถยังคงได้รับผลตอบแทนจากการถือหุ้นเหล่านั้น ขณะเดียวกันก็นำเงินที่ได้จากการกู้ไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่น วิธีนี้มักถูกนำมาใช้ในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ การลงทุนในธุรกิจ หรือการชำระค่าเล่าเรียน โดยไม่ต้องกระทบต่อพอร์ตการลงทุนระยะยาว


นอกจากนี้ การกู้ยืมโดยใช้หุ้นยังมักให้การเข้าถึงสภาพคล่องได้รวดเร็วกว่าสินเชื่อแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะเมื่อใช้บริการจากสถาบันการเงินที่เชี่ยวชาญด้านสินเชื่อประเภทนี้ จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่มีพอร์ตการลงทุนที่มั่นคงและไม่ต้องการเปลี่ยนแผนการลงทุนระยะยาว


อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์นี้ก็มีความเสี่ยง หากตลาดเกิดตกต่ำ มูลค่าพอร์ตของคุณอาจลดลง และอาจถูกบังคับให้ขายหุ้นในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม ดังนั้น การเข้าใจวิธีกู้ยืมด้วยหุ้นอย่างปลอดภัย และบริหารจัดการเงินกู้อย่างรอบคอบ จึงเป็นสิ่งจำเป็น


สรุป


การกู้ยืมโดยใช้หุ้นเป็นหลักประกันสามารถเป็นทางเลือกที่ชาญฉลาดหากคุณรู้จักใช้อย่างรอบคอบ วิธีนี้เปิดโอกาสให้เข้าถึงสภาพคล่อง โดยไม่จำเป็นต้องขายหุ้นหรือกระทบเป้าหมายการลงทุนระยะยาว คุณยังสามารถรักษาผลตอบแทนและสิทธิ์ความเป็นเจ้าของไว้ได้ในขณะที่นำเงินไปใช้ในจุดที่จำเป็นหรือสร้างโอกาสใหม่


หัวใจสำคัญอยู่ที่การเข้าใจกระบวนการอย่างถ่องแท้ เลือกผู้ให้กู้ที่น่าเชื่อถือ และบริหารจัดการเงินกู้อย่างมีวินัย หากคุณเข้าใจทั้ง 3 ขั้นตอนของการกู้ยืมอย่างชัดเจน คุณก็จะพร้อมมากขึ้นในการใช้เครื่องมือนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างไรก็ตาม อย่าลืมศึกษาข้อมูลรอบด้าน ติดตามสถานการณ์ตลาดอย่างใกล้ชิด และไม่ควรกู้เงินเกินความสามารถในการรับความเสี่ยง โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดมีความผันผวน


สุดท้ายนี้ ไม่ว่ากลยุทธ์ทางการเงินใดจะดีเพียงใด ความมีวินัยและการวางแผนอย่างรอบคอบคือสิ่งที่ช่วยแยกนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จออกจากผู้ที่สะดุดกลางทาง


คำเตือน: เอกสารนี้จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น และไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นคำแนะนำทางการเงิน การลงทุน หรือคำแนะนำอื่นใดที่ควรอ้างอิง (และไม่ควรพิจารณาว่าเป็นคำแนะนำ) ความคิดเห็นใดๆ ในเอกสารนี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำของ EBC หรือผู้เขียนว่ากลยุทธ์การลงทุน หลักทรัพย์ ธุรกรรม หรือการลงทุนใดๆ เหมาะสมกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ

ในปี 2025 อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านจะลดลงหรือไม่? ความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ

ในปี 2025 อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านจะลดลงหรือไม่? ความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ

ในปี 2025 อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านจะลดลงหรือไม่? เจาะลึกมุมมองผู้เชี่ยวชาญ แนวโน้มเศรษฐกิจ และผลกระทบต่อผู้ซื้อบ้าน และนักลงทุนอสังหาฯ

2025-07-25
กลยุทธ์เทรด DAX Futures สำหรับมือใหม่และมือโปร

กลยุทธ์เทรด DAX Futures สำหรับมือใหม่และมือโปร

เรียนรู้วิธีเทรด DAX Futures อย่างมั่นใจในบทความนี้ โดยครอบคลุมกลยุทธ์สำคัญสำหรับทั้งมือใหม่และมืออาชีพ

2025-07-25
วิธีทำกำไรในตลาดหุ้นให้ยั่งยืนและมั่นคง

วิธีทำกำไรในตลาดหุ้นให้ยั่งยืนและมั่นคง

คู่มือปฏิบัติในการสร้างความมั่งคั่งจากตลาดหุ้น ด้วยกลยุทธ์ผสมผสาน เครื่องมืออัจฉริยะ และการบริหารพอร์ตอย่างมีวินัย

2025-07-25