Overbought Oversold คืออะไร ไขรหัสสัญญาณเตือนในการเทรด

2025-07-09
สรุป

เทรดเดอร์ต้องรู้ สัญญาณ Overbought Oversold คืออะไร ก่อนลุยตลาดสินทรัพย์เสี่ยง พร้อมเผยกลยุทธ์แนวโน้มราคาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตแบบไม่มีกั๊ก

ในโลกของการเทรด ไม่ว่าจะเป็นหุ้น, Forex, หรือสินทรัพย์อื่น ๆ นักลงทุนและเทรดเดอร์ต่างพยายามหาสัญญาณที่บ่งบอกถึงโอกาสในการเข้าซื้อหรือขาย ซึ่งหนึ่งในแนวคิดสำคัญที่ช่วยในการตัดสินใจจังหวะนี้คือ Overbought และ Oversold ซึ่งเป็นสภาวะที่อาจส่งสัญญาณถึงการกลับตัวของราคาในอนาคต 


ดังนั้นในบทความนี้ EBC Financial Group จึงขอเปิดข้อมูลว่าสภาวะ Overbought และ Oversold คืออะไรกันแน่ พร้อมทิศทางของสัญญาณที่จะมีบทบาทสำคัญในการเทรดและลงทุนในตลาด พร้อมตัวชี้วัดทางเทคนิคที่เหล่าเทรดเดอร์นิยมใช้กัน


ก่อนเทรด ต้องรู้ก่อนสภาวะสุดขั้วของราคาคืออะไร


Overbought และ Oversold เป็นคำศัพท์ทางเทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์ตลาด เพื่อระบุว่าสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่งมีแรงซื้อมากเกินไป (Overbought) หรือมีแรงขายมากเกินไป (Oversold) ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งสภาวะเหล่านี้ไม่ได้เป็นสัญญาณตรงว่าราคาจะเปลี่ยนทิศทางนั้นเสมอไป แต่เป็นเพียงคำเตือนให้นักเทรดเตรียมพร้อมและพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ประกอบการตัดสินใจก่อนเริ่มเทรดตามแผนที่วางไว้


overbought oversold คืออะไร - EBC.jpg

Overbought คือสัญญาณว่าตลาดกำลังโลภหนัก?


ภาวะ Overbought หมายถึง สภาวะที่ราคาของสินทรัพย์ได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ซึ่งอาจบ่งชี้ว่าแรงซื้อเริ่มมากเกินไป และราคาอาจปรับตัวลดลงในไม่ช้า ซึ่งเทรดเดอร์มักมองว่าสภาวะ Overbought เป็นสัญญาณของการ ขาย (Sell) เพื่อทำกำไร หรือหลีกเลี่ยงการขาดทุนหากราคาปรับตัวลงมาแรง


Oversold นักลงทุนหนีตาย แห่เทขายทิ้งสนั่น


ในทางตรงกันข้าม ภาวะ Oversold หมายถึง สภาวะที่ราคาของสินทรัพย์ได้ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ซึ่งอาจบ่งชี้ว่าแรงขายเริ่มมากเกินไป และราคาอาจปรับตัวสูงขึ้นในไม่ช้า นักเทรดมักจะมองว่าสภาวะ Oversold เป็นสัญญาณของการ ซื้อ (Buy) เพื่อหวังทำกำไรจากการดีดตัวของราคา


สัญญาณที่บ่งบอกภาวะ Overbought และ Oversold


  • ราคาปรับตัวขึ้นหรือลงอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาสั้น ๆ

  • ปริมาณการซื้อขาย (Volume) สูงผิดปกติในช่วงที่มีการปรับตัวของราคา

  • เกิดข่าวสารเชิงบวกมากเกินไปสำหรับสินทรัพย์ที่อยู่ในภาวะ Overbought หรือข่าวสารเชิงลบมากเกินไปสำหรับสินทรัพย์ที่อยู่ในภาวะ Oversold

  • การเคลื่อนไหวของราคาเริ่มเบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ย (Mean Reversion)


4 ตัวชี้วัดทางเทคนิคที่เทรดเดอร์มักใช้กัน


1. Relative Strength Index (RSI): เป็นตัวชี้วัดที่แสดงความแข็งแกร่งของแนวโน้มราคา โดยปกติค่า RSI ที่สูงกว่า 70 ถือเป็นสัญญาณ Overbought และค่าที่ต่ำกว่า 30 ถือเป็นสัญญาณ Oversold


2. Stochastic Oscillator: เป็นตัวชี้วัดที่เปรียบเทียบราคาปิดล่าสุดกับช่วงราคาในอดีต ค่า Stochastic ที่สูงกว่า 80 ถือเป็นสัญญาณ Overbought และค่าที่ต่ำกว่า 20 ถือเป็นสัญญาณ Oversold


3. Commodity Channel Index (CCI): เป็นตัวชี้วัดที่วัดความแตกต่างระหว่างราคาสินทรัพย์กับค่าเฉลี่ยในช่วงเวลาที่กำหนด ค่า CCI ที่สูงกว่า +100 มักถือเป็นสัญญาณ Overbought และค่าที่ต่ำกว่า -100 มักถือเป็นสัญญาณ Oversold


4 ตัวชีวัดทางเทคนิคเช็ก Overbought oversold - EBC.jpg


สรุป


การเข้าใจแนวคิดของ Overbought และ Oversold ถือเป็นความรู้ที่มีประโยชน์และสำคัญมากสำหรับนักเทรดในการประเมินสภาวะตลาดและมองหาโอกาสในการเข้าซื้อหรือขาย อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือเทรดเดอร์ต้องใช้สัญญาณดังกล่าวร่วมกับเครื่องมือและเทคนิคอื่น ๆ ในการวิเคราะห์ รวมถึงการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสมด้วย


คำเตือน: เอกสารนี้จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น และไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นคำแนะนำทางการเงิน การลงทุน หรือคำแนะนำอื่นใดที่ควรอ้างอิง (และไม่ควรพิจารณาว่าเป็นคำแนะนำ) ความคิดเห็นใด ๆ ในเอกสารนี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำของ EBC หรือผู้เขียนว่ากลยุทธ์การลงทุน หลักทรัพย์ ธุรกรรม หรือการลงทุนใด ๆ เหมาะสมกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ

เจาะลึกเส้น SMA คืออะไร ตัวช่วยคาดการณ์ทิศทางราคาสินทรัพย์

เจาะลึกเส้น SMA คืออะไร ตัวช่วยคาดการณ์ทิศทางราคาสินทรัพย์

รู้จัก เส้น SMA (Simple Moving Average) ตัวชี้วัดทางเทคนิคพื้นฐานสำหรับเทรดเดอร์ อธิบายความหมาย พร้อมการเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมในการใช้วิเคราะห์สินทรัพย์

2025-07-09
3 สิ่งที่เทรดเดอร์ต้องเข้าใจก่อนลงทุนใน GDX ETF

3 สิ่งที่เทรดเดอร์ต้องเข้าใจก่อนลงทุนใน GDX ETF

ทำความเข้าใจว่า GDX ทำงานอย่างไร ความเสี่ยงและแตกต่างจากทองคำอย่างไร ก่อนที่จะเพิ่มลงในพอร์ตการลงทุนของคุณ

2025-07-09
ดัชนี KOSPI เทียบกับ S&P 500: ตัวไหนดีกว่าสำหรับการกระจายความเสี่ยง?

ดัชนี KOSPI เทียบกับ S&P 500: ตัวไหนดีกว่าสำหรับการกระจายความเสี่ยง?

ค้นพบความแตกต่างที่สำคัญระหว่างดัชนี KOSPI และ S&P 500 เพื่อพิจารณาว่าดัชนีใดให้การกระจายความเสี่ยงที่ดีกว่าสำหรับพอร์ตการลงทุนทั่วโลกของคุณ

2025-07-09