รู้จัก เส้น SMA (Simple Moving Average) ตัวชี้วัดทางเทคนิคพื้นฐานสำหรับเทรดเดอร์ อธิบายความหมาย พร้อมการเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมในการใช้วิเคราะห์สินทรัพย์
ในโลกของการเทรด ไม่ว่าจะเป็นหุ้น Forex หรือสินค้าโภคภัณฑ์ เครื่องมือที่นักเทรดนิยมใช้ในการวิเคราะห์แนวโน้มราคาคือ ตัวชี้วัดทางเทคนิค (Technical Indicators) ซึ่งหนึ่งในเครื่องมือพื้นฐานแต่ทรงพลังคือ เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบธรรมดา (Simple Moving Average) หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า เส้น SMA
โดยในบทความนี้ EBC Financial Group ขอพาเอฟซีผู้อ่านทั้งเทรดเดอร์ชั้นเซียนและมือใหม่ไปทวนความจำว่า เส้น SMA คืออะไร มีวิธีการคำนวณอย่างไร และสามารถนำไปใช้ในการเทรดได้อย่างไรบ้าง
เส้น SMA (Simple Moving Average) คือ เส้นที่แสดงค่าเฉลี่ยของราคาปิดของสินทรัพย์ในช่วงเวลาที่กำหนด โดยจะคำนวณจากการนำราคาปิดของสินทรัพย์ในช่วงเวลาดังกล่าวมาบวกกัน แล้วหารด้วยจำนวนช่วงเวลา เส้น SMA จะช่วยให้นักเทรดเห็นภาพรวมของแนวโน้มราคาในอดีต และใช้คาดการณ์แนวโน้มในอนาคตได้ง่ายขึ้น
1. กำหนดช่วงเวลา: เลือกว่าต้องการคำนวณค่าเฉลี่ยในช่วงเวลากี่วัน (สำหรับกราฟรายวัน), กี่ชั่วโมง (สำหรับกราฟรายชั่วโมง), หรือช่วงเวลาอื่น ๆ ตามที่คุณต้องการ
2. รวบรวมราคาปิด: นำราคาสุดท้าย (ราคาปิด) ของแต่ละช่วงเวลาที่คุณกำหนดมารวมกัน
3. หารด้วยจำนวนช่วงเวลา: นำผลรวมของราคาทั้งหมดมาหารด้วยจำนวนช่วงเวลาที่คุณกำหนด
ยกตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการคำนวณเส้น SMA 5 วันของหุ้นตัวหนึ่ง โดยมีราคาปิดดังนี้
วันที่ 1: 10 บาท
วันที่ 2: 12 บาท
วันที่ 3: 13 บาท
วันที่ 4: 11 บาท
วันที่ 5: 14 บาท
วิธีการคำนวณ: (10 + 12 + 13 + 11 + 14) / 5 = 60 / 5 = 12 บาท ดังนั้น ค่า SMA 5 วันของหุ้นตัวนี้ในวันที่ 5 คือ 12 บาท เมื่อเวลาผ่านไปและมีข้อมูลราคาใหม่เข้ามา ราคาเก่าสุดในชุดข้อมูลจะถูกตัดออก และราคาใหม่จะถูกนำมาคำนวณแทน ทำให้เส้น SMA เคลื่อนที่ไปตามการเปลี่ยนแปลงของราคา
ระยะสั้น (Day Trading, Swing Trading): นิยมใช้เส้น SMA 5, 10, 20 วัน เพื่อดูแนวโน้มในระยะสั้นและการแกว่งตัวของราคา
ระยะกลาง (Position Trading): นิยมใช้เส้น SMA 50, 100 วัน เพื่อดูแนวโน้มในระยะกลาง
ระยะยาว (Long-Term Investing): นิยมใช้เส้น SMA 200 วัน เพื่อดูแนวโน้มในระยะยาวและพิจารณาว่าภาพรวมอาจหรือกำลังเป็นตลาดกระทิง (Bull Market) หรือตลาดหมี (Bear Market)
เส้น SMA เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคที่เรียบง่ายแต่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้นักเทรดสามารถระบุแนวโน้มราคา หาแนวรับแนวต้าน และอาจใช้เป็นสัญญาณซื้อขายได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจข้อจำกัดของเส้น SMA และนำไปใช้ร่วมกับเครื่องมืออื่น ๆ รวมถึงการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสมด้วย
คำเตือน: เอกสารนี้จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น และไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นคำแนะนำทางการเงิน การลงทุน หรือคำแนะนำอื่นใดที่ควรอ้างอิง (และไม่ควรพิจารณาว่าเป็นคำแนะนำ) ความคิดเห็นใด ๆ ในเอกสารนี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำของ EBC หรือผู้เขียนว่ากลยุทธ์การลงทุน หลักทรัพย์ ธุรกรรม หรือการลงทุนใด ๆ เหมาะสมกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ
เทรดเดอร์ต้องรู้ สัญญาณ Overbought Oversold คืออะไร ก่อนลุยตลาดสินทรัพย์เสี่ยง พร้อมเผยกลยุทธ์แนวโน้มราคาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตแบบไม่มีกั๊ก
2025-07-09ทำความเข้าใจว่า GDX ทำงานอย่างไร ความเสี่ยงและแตกต่างจากทองคำอย่างไร ก่อนที่จะเพิ่มลงในพอร์ตการลงทุนของคุณ
2025-07-09ค้นพบความแตกต่างที่สำคัญระหว่างดัชนี KOSPI และ S&P 500 เพื่อพิจารณาว่าดัชนีใดให้การกระจายความเสี่ยงที่ดีกว่าสำหรับพอร์ตการลงทุนทั่วโลกของคุณ
2025-07-09