ไขความลับ บัญชีมาร์จิ้น คืออะไร สรุปหลักการทำงานของการลงทุนด้วยเงินยืมจากโบรกเกอร์ เพื่อเพิ่มอำนาจซื้อหลักทรัพย์ พร้อมข้อดีและความเสี่ยงที่ต้องรู้
ในโลกของตลาดการเงินนั้น เราอาจเคยได้ยินมาว่ามีนักลงทุนหลายคนที่มีความรู้ในการเทรด แต่ขาดทุนทรัพย์ ซึ่งอยากลงทุนโดยไม่ใช้เงินตัวเอง จึงเริ่มใช้สิ่งที่เรียกว่า "บัญชีมาร์จิ้น" ที่เปรียบเสมือนดาบสองคมมาทำกำไรได้เป็นกอบเป็นกำ จนเทรดเดอร์หน้าใหม่หลายท่านงงเป็นไก่ตาแตกว่าแบบนี้ก็ทำได้หรือ
ดังนั้นในบทความนี้ EBC Financial Group จึงขอเปิดข้อมูลว่า บัญชีมาร์จิ้น คืออะไร มีหลักการอย่างไร พร้อมข้อดีและความเสี่ยงที่เทรดเดอร์ควรระวังการใช้มาร์จิ้นในการลงทุน
บัญชีมาร์จิ้นคือบัญชีประเภทหนึ่งที่อนุญาตให้นักลงทุนสามารถ ยืมเงินจากโบรกเกอร์ เพื่อซื้อหลักทรัพย์ได้ โดยเงินที่ยืมมานี้จะถูกเรียกว่า "มาร์จิ้น" (Margin) และหลักทรัพย์ที่คุณซื้อจะถูกใช้เป็นหลักประกันสำหรับเงินกู้ดังกล่าว ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว โบรกเกอร์จะกำหนดอัตรามาร์จิ้นขั้นต่ำ (Initial Margin Requirement) ที่เป็นสัดส่วนของเงินทุนของเราเองที่ต้องมีในการซื้อหลักทรัพย์นั้น ๆ ส่วนที่เหลือเราสามารถยืมจากโบรกเกอร์ได้
ยกตัวอย่างเช่น หากเรามีเงินทุน 1,000 ดอลลาร์ และใช้เลเวอเรจ 1:100 จะสามารถเปิดออร์เดอร์ได้สูงถึง 100,000 ดอลลาร์นั่นเอง
ขยายผลขาดทุน: ในทางกลับกัน หากราคาหลักทรัพย์ปรับตัวลง เงินที่ยืมมาก็จะทำให้ผลขาดทุนของคุณเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ
ดอกเบี้ย: เงินที่ยืมมาจากโบรกเกอร์จะมีดอกเบี้ย ซึ่งเป็นต้นทุนเพิ่มเติมที่คุณต้องจ่าย
Margin Call: หากมูลค่าหลักทรัพย์ในบัญชีของคุณลดลงต่ำกว่าระดับที่โบรกเกอร์กำหนด (Maintenance Margin Requirement) คุณจะได้รับการแจ้งเตือนให้เติมเงินเข้าบัญชี หรือขายหลักทรัพย์เพื่อรักษาระดับมาร์จิ้น
ใช้เลเวอเรจอย่างระวัง: อย่าใช้เลเวอเรจสูงเกินกว่าที่คุณสามารถรับความเสี่ยงได้
บังคับขาย: หากคุณไม่สามารถเติมเงินตาม Margin Call ได้ โบรกเกอร์มีสิทธิ์ที่จะบังคับขายหลักทรัพย์ในบัญชีของคุณโดยที่คุณอาจไม่ต้องการ
บัญชีมาร์จิ้นคือบัญชีที่อนุญาตให้นักลงทุนสามารถยืมเงินจากโบรกเกอร์เพื่อซื้อหลักทรัพย์ได้ โดยหลักทรัพย์ที่ซื้อจะถูกใช้เป็นหลักประกันสำหรับเงินกู้ดังกล่าว ซึ่งมีศักยภาพในการเพิ่มโอกาสทำกำไร แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นเช่นกัน
คำเตือน: เอกสารนี้จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น และไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นคำแนะนำทางการเงิน การลงทุน หรือคำแนะนำอื่นใดที่ควรอ้างอิง (และไม่ควรพิจารณาว่าเป็นคำแนะนำ) ความคิดเห็นใด ๆ ในเอกสารนี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำของ EBC หรือผู้เขียนว่ากลยุทธ์การลงทุน หลักทรัพย์ ธุรกรรม หรือการลงทุนใด ๆ เหมาะสมกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ
ทำความเข้าใจว่า Insider Trading คืออะไร เมื่อใดที่ถือว่าผิดกฎหมาย หน่วยงานกำกับดูแลตรวจจับได้อย่างไร และเทรดเดอร์ควรระวังอะไรในตลาดที่มีความผันผวนสูง
2025-07-17รู้จัก Stop Loss (SL) และ Take Profit (TP) คำสั่งสำคัญในตลาด Forex ที่ช่วยควบคุมการขาดทุนและรักษาผลกำไร พร้อมเทคนิคตั้งคำสั่งอย่างไรให้ทรงประสิทธิภาพ
2025-07-17สรุปเรื่องค่าสเปรด Spread ใน Forex ค่าใช้จ่ายหลักในการเทรดที่คำนวณจากความแตกต่างของราคา Bid และ Ask พร้อมข้อมูลปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าสเปรด
2025-07-17