เรียนรู้ 4 รูปแบบกราฟที่พบบ่อยที่สุด ซึ่งเทรดเดอร์มักใช้ในการระบุแนวโน้มของตลาดและจุดกลับตัวอยู่เสมอ
ทุกกราฟทางการเงินต่างมีเรื่องราวซ่อนอยู่ เบื้องหลังเส้น แท่ง หรือแท่งเทียนเหล่านั้นคือพฤติกรรมของราคาที่สะท้อนจิตวิทยาของผู้ซื้อและผู้ขายแบบเรียลไทม์ รูปแบบกราฟจึงเปรียบเสมือนสัญญาณทางสายตาที่เทรดเดอร์ใช้เพื่อคาดการณ์ทิศทางของราคาในอนาคต การรู้จักและเข้าใจรูปแบบเหล่านี้จึงเป็นหัวใจสำคัญของการวิเคราะห์ทางเทคนิค โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ต้องการเข้า–ออกตลาดโดยอิงจากพฤติกรรมของราคา มากกว่าปัจจัยพื้นฐาน
แม้จะมีหลากหลายรูปแบบกราฟในตลาด แต่ก็มีบางรูปแบบที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกลายเป็นพื้นฐานที่เทรดเดอร์ทั่วโลกใช้ในการเรียนรู้และวิเคราะห์ นี่ไม่ใช่แค่รูปทรงในทางทฤษฎี แต่เป็นผลลัพธ์จากแรงกดดันในตลาดจริง ไม่ว่าจะเป็นช่วงสะสมพลัง แรงทะลุแนวต้าน แนวโน้มอ่อนแรงหรือความไม่แน่นอนในตลาด
บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับ 4 รูปแบบกราฟที่พบบ่อยที่สุดในตลาด ไม่ว่าจะเป็นหุ้น สินค้าโภคภัณฑ์ หรือดัชนี การเข้าใจรูปแบบเหล่านี้อาจไม่รับประกันความสำเร็จ แต่สามารถช่วยให้เทรดเดอร์จับจังหวะได้ดีขึ้น บริหารความเสี่ยงได้อย่างมีระบบ และวางแผนการเข้า–ออกได้อย่างเป็นแบบแผนยิ่งขึ้น
หนึ่งในรูปแบบกราฟที่จดจำได้ง่ายที่สุดในการเทรด คือรูปแบบ Head and Shoulders ซึ่งเป็นสัญญาณของการกลับตัวของแนวโน้ม มักปรากฏหลังจากที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยรูปแบบนี้ประกอบด้วยยอดเขา 3 ยอด ได้แก่ ยอดที่ 1 คือไหล่ซ้าย ราคาขึ้นไปแล้วหยุดพัก ยอดที่ 2 คือศีรษะ ราคาขึ้นไปสร้างจุดสูงสุดใหม่ จากนั้นถอยลง ยอดที่ 3 คือไหล่ขวา ราคาขึ้นไม่ถึงระดับศีรษะ แสดงถึงแรงซื้อที่เริ่มอ่อนตัว
เส้น Neckline คือเส้นแนวรับที่ลากเชื่อมจุดต่ำระหว่างไหล่ซ้าย-ศีรษะ-ไหล่ขวา เมื่อราคาทะลุลงใต้เส้นนี้ ถือเป็นการยืนยันว่าราคากำลังเปลี่ยนแนวโน้มจากขาขึ้นเป็นขาลง
จุดเด่นของรูปแบบนี้คือสะท้อนจิตวิทยาของตลาดได้อย่างชัดเจน เมื่อราคาพยายามทำจุดสูงสุดใหม่แต่ไม่สำเร็จซ้ำแล้วซ้ำเล่า แสดงถึงความอ่อนแรงของฝั่งซื้อ และเมื่อหลุดเส้น neckline เทรดเดอร์จำนวนมากมักจะเทขายทันที
รูปแบบ Inverse Head and Shoulders ก็มีลักษณะคล้ายกัน แต่เกิดหลังจากขาลง และเป็นสัญญาณกลับตัวขึ้น
รูปแบบ Double Top และ Double Bottom เป็นสัญญาณการกลับตัวที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง โดยรูปแบบ Double Top เกิดหลังจากแนวโน้มขาขึ้น เมื่อราคาขึ้นไปแตะระดับแนวต้านเดิม 2 ครั้งแต่ไม่สามารถทะลุได้ เกิดเป็นยอดคู่ที่ระดับใกล้เคียงกัน จากนั้นราคาหลุดลงใต้เส้น neckline ซึ่งลากจากจุดต่ำระหว่างยอดทั้งสอง แสดงถึงการสิ้นสุดของแรงซื้อและมักนำไปสู่การปรับตัวลง
ส่วน Double Bottom เกิดหลังแนวโน้มขาลงราคาลง แตะจุดต่ำสุดเดิม 2 ครั้งแต่ไม่หลุดแสดงถึงแรงขายที่เริ่มหมดลง และแรงซื้อเริ่มเข้ามา เมื่อทะลุเส้น neckline ด้านบนถือเป็นการยืนยันของแนวโน้มขาขึ้น
เทรดเดอร์มักใช้รูปแบบเหล่านี้เพื่อกำหนดเป้าหมายราคาและจุด Stop Loss ได้อย่างมีระบบเหมาะอย่างยิ่งสำหรับใช้หาจุดกลับตัวของราคา
รูปแบบกราฟสามเหลี่ยมแสดงถึงช่วงสะสมพลัง (consolidation) ก่อนที่ราคาจะทะลุออกไป โดยมี 3 ประเภทหลัก ได้แก่ Ascending Triangle, Descending Triangle, Symmetrical Triangle โดยแต่ละประเภทจะก่อตัวขึ้นเมื่อราคาเริ่มเคลื่อนไหวในกรอบแคบลงทำให้เกิดรูปทรงสามเหลี่ยมบนกราฟ
Ascending Triangle (สามเหลี่ยมขึ้น): มีจุดต่ำสูงขึ้นเรื่อย ๆ แต่ชนแนวต้านที่ระดับเดิมบ่งชี้ถึงแรงซื้อที่เพิ่มขึ้น หากทะลุแนวต้านมักเป็นสัญญาณขาขึ้นต่อ
Descending Triangle (สามเหลี่ยมลง): มีจุดสูงต่ำลงเรื่อย ๆ แต่มีแนวรับแนวเดียวแสดงถึงแรงขายที่เพิ่มขึ้น หากราคาหลุดแนวรับมักเข้าสู่ขาลง
Symmetrical Triangle (สามเหลี่ยมสมมาตร): มีจุดสูงต่ำลง และจุดต่ำสูงขึ้น สะท้อนความไม่แน่นอน เมื่อลากเส้นจะได้รูปสามเหลี่ยมสมมาตร เมื่อราคาทะลุออกจากรูปแบบ มักเกิดการเคลื่อนไหวอย่างรุนแรง
โดยทั่วไปแล้ว รูปแบบสามเหลี่ยมถือว่าเป็นรูปแบบต่อเนื่อง (continuation) คือราคามักเคลื่อนไหวต่อไปในทิศทางเดิมหลังจากเกิดการทะลุ แต่เพื่อความแม่นยำ เทรดเดอร์มักรอการยืนยันด้วยปริมาณการซื้อขาย (volume)
รูปแบบ Flag และ Pennant เป็นรูปแบบต่อเนื่องระยะสั้นที่เกิดหลังจากราคาวิ่งแรงในช่วงแรก ซึ่งเรียกว่า “เสาธง” Flag จะปรากฏเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็ก เอียงสวนทิศทางแนวโน้มเดิม ในขณะที่ Pennant ป็นสามเหลี่ยมขนาดเล็กสมมาตร เกิดหลังจากราคาพุ่งหรือดิ่งแรง
จุดเด่นของรูปแบบนี้คือแสดงถึงการหยุดพักชั่วคราวของราคา ก่อนที่แนวโน้มเดิมจะกลับมาอีกครั้ง เทรดเดอร์ใช้การทะลุออกจากรูปแบบเป็นจุดยืนยันการเข้าสู่เทรนด์ถัดไป และมักใช้ความยาวของเสาธงเพื่อประมาณการเป้าหมายราคา
รูปแบบเหล่านี้เหมาะกับตลาดที่เคลื่อนไหวเร็ว โดยเฉพาะสำหรับนักเทรดระยะสั้น อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุก Flag หรือ Pennant จะจบในทิศทางที่คาดไว้ จึงต้องอาศัยการยืนยันด้วย Volume และการจับจังหวะที่เหมาะสม
แม้ในยุคที่ตลาดถูกขับเคลื่อนด้วยอัลกอริธึมและโมเดลปัญญาประดิษฐ์ แต่รูปแบบกราฟยังคงปรากฏอยู่เสมอ เพราะพฤติกรรมของมนุษย์ เช่น ความกลัว ความโลภ ความลังเล และแรงผลักจากโมเมนตัม ยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของราคา
เทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์มักผสานการใช้รูปแบบกราฟเข้ากับเครื่องมืออื่น เช่น ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ปริมาณการซื้อขาย หรือเส้นแนวโน้ม เพื่อเพิ่มความแม่นยำ สิ่งสำคัญไม่ใช่แค่การมองเห็นรูปแบบแต่ต้องเข้าใจบริบทของตลาดในขณะนั้น และใช้เป็นส่วนหนึ่งของระบบตัดสินใจที่มีโครงสร้างชัดเจน
สำหรับมือใหม่ ควรฝึกการระบุรูปแบบจากข้อมูลย้อนหลังหรือบัญชีทดลองให้คล่องก่อนนำไปใช้ในตลาดจริง และไม่ลืมว่ารูปแบบกราฟไม่สามารถใช้เดี่ยว ๆ ได้ ต้องมีการบริหารความเสี่ยงร่วมด้วยเสมอ แม้รูปแบบจะดูน่าเชื่อถือแค่ไหนก็ตาม
ข้อสงวนสิทธิ์: เอกสารนี้จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น และไม่ได้มีเจตนา (และไม่ควรพิจารณาว่าเป็น) คำแนะนำทางการเงิน การลงทุน หรือคำแนะนำอื่นใดที่ควรอ้างอิง ความคิดเห็นใดๆ ในเอกสารนี้ไม่ได้เป็นคำแนะนำจาก EBC หรือผู้เขียนว่ากลยุทธ์การลงทุน หลักทรัพย์ ธุรกรรม หรือการลงทุนใดๆ เหมาะสมกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ
ไขข้อสงสัย "ค่าสเปรด คิดยังไง"? เจาะลึกส่วนต่างราคา Bid/Ask ต้นทุนสำคัญในการเทรด พร้อมคำนวณค่าสเปรด
2025-07-15อยากเทรดทองคำแต่ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน เปิดหลักการพื้นฐานทำไมทองคำถึงเป็นที่น่าสนใจในหมู่เทรเดอร์ พร้อมคำศัพทฺ์ควรรู้ก่อนลงตลาดเทรดทอง
2025-07-15ค้นพบว่าการทับซ้อนของ ETF อาจส่งผลเสียต่อพอร์ตการลงทุนของคุณได้อย่างไร และคุณสามารถดำเนินการอย่างไรเพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มการกระจายความเสี่ยงให้สูงสุด
2025-07-15