คลายสงสัย สินค้าโภคภัณฑ์ คืออะไร เจาะลึกประเภทสินค้าโภคภัณฑ์สำคัญ พลังงาน เกษตร โลหะ พร้อมปัจจัยที่มีผลต่อราคาและความสำคัญต่อเศรษฐกิจโลก
นับตั้งแต่ต้นปี 2025 จนถึงตอนนี้ เราได้เห็นความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นในเดือนมิถุนายนหลังเกิดสงครามระหว่างอิหร่านและอิสราเอล ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและค่าครองชีพของประชาชนทั่วโลก
ดังนั้นในบทความนี้ EBC Financial Group จึงขอทบทวนความจำว่า สินค้าโภคภัณฑ์ มีอะไรบ้างในระบบเศรษฐกิจของเรา พร้อมข้อมูลปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบกับราคาของสินค้าโภคภัณฑ์นั้น ๆ
สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) คือ วัตถุดิบขั้นพื้นฐานหรือผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมาซื้อขายแลกเปลี่ยนกันได้ โดยมีลักษณะที่เป็นมาตรฐาน ไม่มีความแตกต่างกันมากนักระหว่างผู้ผลิตแต่ละราย ทำให้สามารถกำหนดราคาตามกลไกตลาดได้อย่างชัดเจน สินค้าโภคภัณฑ์เป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของเรา และเป็นปัจจัยพื้นฐานในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วโลก
1. สินค้าโภคภัณฑ์กลุ่มพลังงาน (Energy Commodities): เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก เนื่องจากเป็นแหล่งพลังงานหลักในการผลิตไฟฟ้า การคมนาคม และการดำเนินงานของโรงงานอุตสาหกรรม ตัวอย่างสินค้าโภคภัณฑ์ในกลุ่มนี้ ได้แก่
น้ำมันดิบ (Crude Oil)
ก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas)
น้ำมันเบนซิน (Gasoline)
น้ำมันดีเซล (Diesel)
ถ่านหิน (Coal)
ไฟฟ้า (Electricity)
2. สินค้าโภคภัณฑ์กลุ่มเกษตร (Agricultural Commodities): เป็นสินค้าที่ได้จากการเพาะปลูกและปศุสัตว์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ตัวอย่างสินค้าโภคภัณฑ์ในกลุ่มนี้ ได้แก่
ข้าว (Rice)
ข้าวโพด (Corn)
ข้าวสาลี (Wheat)
ถั่วเหลือง (Soybeans)
น้ำตาล (Sugar)
กาแฟ (Coffee)
โกโก้ (Cocoa)
ฝ้าย (Cotton)
ปศุสัตว์ (Livestock เช่น สุกร วัว)
3. สินค้าโภคภัณฑ์กลุ่มโลหะ (Metal Commodities): เป็นกลุ่มสินค้าที่มีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง การผลิต และเทคโนโลยี สามารถแบ่งย่อยได้เป็น
โลหะมีค่า (Precious Metals): เป็นโลหะที่มีมูลค่าสูงและมักถูกใช้เป็นสินทรัพย์ปลอดภัยในการลงทุน ตัวอย่าง ได้แก่ ทองคำ (Gold), เงิน (Silver), แพลทินัม (Platinum), และพัลลาเดียม (Palladium)
โลหะอุตสาหกรรม (Industrial Metals): เป็นโลหะที่มีความสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ตัวอย่าง ได้แก่ ทองแดง (Copper), อะลูมิเนียม (Aluminum), ตะกั่ว (Lead), สังกะสี (Zinc), และแร่เหล็ก (Iron Ore)
อุปสงค์และอุปทาน (Supply and Demand): การเปลี่ยนแปลงของความต้องการและความสามารถในการผลิตสินค้ามีผลโดยตรงต่อราคา
สภาพอากาศ (Weather): โดยเฉพาะสินค้าโภคภัณฑ์ทางการเกษตรที่ผลผลิตขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ
นโยบายของรัฐบาล (Government Policies): เช่น การควบคุมการผลิต การเก็บภาษี หรือการกำหนดราคา
อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Rates): เนื่องจากสินค้าโภคภัณฑ์ส่วนใหญ่ซื้อขายในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ จึงอาจผันแปรกับการอ่อนแข็งค่าในดอลลาร์ได้
เหตุการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Events): ความขัดแย้งหรือความไม่แน่นอนทางการเมืองสามารถส่งผลกระทบต่ออุปทานและราคาได้
การเก็งกำไร (Speculation): นักลงทุนและกองทุนต่าง ๆ สามารถเข้ามาซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์เพื่อหวังผลกำไร ซึ่งอาจทำให้เกิดความผันผวนของราคาได้
คำเตือน: เอกสารนี้จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น และไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นคำแนะนำทางการเงิน การลงทุน หรือคำแนะนำอื่นใดที่ควรอ้างอิง (และไม่ควรพิจารณาว่าเป็นคำแนะนำ) ความคิดเห็นใด ๆ ในเอกสารนี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำของ EBC หรือผู้เขียนว่ากลยุทธ์การลงทุน หลักทรัพย์ ธุรกรรม หรือการลงทุนใด ๆ เหมาะสมกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ
เจาะลึก 5 อินดิเคเตอร์ เทรดทองpvfVb9 เครื่องมือสำคัญช่วยจับจังหวะซื้อขายทองคำ วิธีใช้และข้อควรระวังสำหรับเทรดเดอร์มือใหม่และมือโปร
2025-07-14การประชุมเฟดครั้งต่อไปคือเมื่อไหร่? สำรวจปฏิทินปี 2025 ฉบับเต็ม และติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยและการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น
2025-07-14ออมเงินที่ไหนดีที่สุด? เปรียบเทียบชัด พันธบัตรรัฐบาล E-saving ฝากประจำ ข้อดีข้อเสียครบ จบในที่เดียว! เลือกช่องทางออมเงินให้ตอบโจทย์เป้าหมายการเทรด-ลงทุน
2025-07-14