นักลงทุนมือใหม่เช็กด่วน วิธีประเมินมูลค่าหุ้น 4 วิธีง่าย ๆ พร้อมสูตรคำนวณและเกณฑ์เบื้องต้นว่าหุ้นอยู่ในระดับไหน แพงหรือถูกไปหรือไม่
การซื้อหุ้นถือเป็นอีกหนึ่งการลงทุนหนึ่งที่ถือว่าน่าสนใจมากให้ห้วงปีที่ผ่านมา ทว่าการที่จะเริ่มซื้อหุ้นตัวใดตัวหนึ่งนั้น นักลงทุนจำเป็นต้องฝึกประเมินมูลค่าหุ้นอย่างรัดกุมด้วยตัวเอง ไม่ควรเชื่อคำแนะนำนักวิเคราะห์หรือคนอื่นจนเผลอซื้อหุ้นตัวนั้น ๆ แบบหน้ามืดตามัว เพราะอาจทำให้เราขาดทุนได้ในระยะยาว
ดังนั้น EBC Financial Group จึงขอเปิด 4 วิธีประเมินมูลค่าหุ้นแบบง่าย ๆ ด้วยตัวเอง ไม่ง้อเซียนหุ้น เพื่ออยู่รอดในตลาดหุ้นได้ในระยะยาวและยั่งยืน พร้อมสูตรคำนวณและคำศัพท์ที่ต้องรู้แบบครบจบในที่เดียว
การประเมินมูลค่าหุ้นเปรียบเสมือนการมองลึกไปในธุรกิจของบริษัทเจ้าของหุ้น เพื่อช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์หรือเข้าใจว่าราคาหุ้นที่เราสนใจในตลาดนั้น ถูก แพง หรือสมเหตุสมผล เมื่อเทียบกับปัจจัยพื้นฐานและศักยภาพในการเติบโตของบริษัท เพราะถ้าเราไม่เริ่มประเมินมูลค่าหุ้น อาจทำให้นักลงทุนซื้อหุ้นแพงเกินไป พลาดโอกาสซื้อหุ้นดีราคาถูก หรือลงทุนโดยไม่มีหลักการได้
1. อัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิ (P/E Ratio): [SEO Keyword: P/E Ratio คือ] เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด วิธีนี้คำนวณจาก ราคาหุ้นปัจจุบัน ÷ กำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) ค่า P/E Ratio บ่งบอกว่านักลงทุนยินดีจ่ายเงินกี่เท่าของกำไรต่อหุ้นเพื่อซื้อหุ้นนั้น
ข้อดี: เข้าใจง่าย ใช้เปรียบเทียบหุ้นในอุตสาหกรรมเดียวกันได้
ข้อเสีย: ไม่เหมาะกับบริษัทที่ยังไม่มีกำไร หรือกำไรมีความผันผวนสูง
สมมุติ ว่า P/E = 75 เท่า หมายความว่านักลงทุนกำลังยอมจ่ายเงิน 75 บาทเพื่อกำไร 1 บาท หรืออาจเทียบได้ว่าต้องใช้เวลาถึง 50.88 ปี เพื่อคืนทุน แต่ถึงกระนั้น กลุ่มหุ้นในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีมักมี P/E ที่สูงกว่ากลุ่มอื่น เพราะผลงานในอดีตที่มีการเติบโตของกำไรอย่างก้าวกระโดด
2. อัตราส่วนราคาต่อมูลค่าทางบัญชี (P/BV Ratio): คำนวณจาก ราคาหุ้นปัจจุบัน ÷ มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น มูลค่าทางบัญชีคือส่วนของผู้ถือหุ้นในงบดุล ค่า P/BV Ratio ซึ่งหมายความนักลงทุนยินดีจ่ายเงินกี่เท่าของมูลค่าทางบัญชีเพื่อซื้อหุ้นนั้น จะต่างกับ P/E Ratio ที่เป็นการจ่ายกี่เท่าตามกำไร
ข้อดี: เหมาะกับบริษัทที่มีสินทรัพย์จับต้องได้เยอะ เช่น กลุ่มธนาคาร อสังหาริมทรัพย์
ข้อเสีย: ไม่เหมาะกับบริษัทที่เน้นสินทรัพย์ที่ยังจับต้องไม่ได้ เช่น กลุ่มเทคโนโลยี
อย่างไรก็ดี หุ้นที่มี P/BV ต่ำกว่า 1 เท่า อาจหมายความหุ้นนั้นถูกประเมินมูลค่าต่ำกว่าความจริง แต่ก็ตีความได้เหมือนกันว่าในบริษัทกำลังมีปัญหาซุกซ่อนอยู่นั่นเอง ดังนั้นนักลงทุนควรวิเคราะห์จุดนี้ให้ดี ไม่ใช่ค่า P/BV ต่ำแล้วจะมุ่งซื้อเพียงอย่างเดียว
3. อัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อการเติบโต (PEG Ratio): เป็นอัตราส่วนที่นำ P/E Ratio มาพิจารณาร่วมกับอัตราการเติบโตของกำไรของบริษัท คำนวณจาก P/E Ratio ÷ อัตราการเติบโตของกำไร (เป็นเปอร์เซ็นต์) โดยทั่วไป PEG Ratio ที่ต่ำกว่า 1 อาจบ่งชี้ว่าหุ้นนั้นถูกประเมินค่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็นเมื่อเทียบกับการเติบโตของกำไร
ข้อดี: ช่วยปรับปรุงข้อจำกัดของ P/E Ratio โดยคำนึงถึงการเติบโตของบริษัท
ข้อเสีย: การคาดการณ์อัตราการเติบโตอาจมีความไม่แน่นอน และไม่เหมาะกับบริษัทที่ไม่มีการเติบโตหรือการเติบโตผันผวน
โดยปกติหุ้นที่มี PEG ที่ 1 แสดงว่าราคาของหุ้นนั้น ๆ เหมาะสมกับจุดสมดุลระหว่างราคาและการเติบโต ขณะที่หาก PEG ต่ำกว่า 1.0 อาจหมายความว่าหุ้นมีราคาถูกเมื่อเทียบกับการเติบโต (Underpriced) กลับกัน ถ้า PEG มากกว่า 1.0 อาจแปลว่าหุ้นแพง (Overpriced) เกินไปก็เป็นได้
4. อัตราส่วนราคาต่อยอดขาย (P/S Ratio): คำนวณจาก ราคาหุ้นปัจจุบัน ÷ ยอดขายต่อหุ้น หรือ มูลค่าตลาดรวม ÷ ยอดขายรวม อัตราส่วนนี้ช่วยประเมินมูลค่าหุ้นโดยอิงจากรายได้ของบริษัท ซึ่งอาจมีประโยชน์สำหรับบริษัทที่ยังไม่มีกำไร หรือมีกำไรผันผวน แต่มีรายได้ที่สม่ำเสมอ
ข้อดี: ใช้ได้กับบริษัทที่ยังไม่มีกำไร และช่วยเปรียบเทียบบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกันในแง่ของรายได้
ข้อสังเกต: ไม่ได้คำนึงถึงต้นทุนและค่าใช้จ่ายของบริษัท
วิธีประเมินมูลค่าหุ้นแบบนี้จะมีประโยชน์สำหรับบริษัทที่ยังไม่มีกำไร หรือกำไรผันผวน โดยเฉพาะสตาร์ทอัพหรือบริษัทเทคโนโลยีที่ P/S ที่ดีจะขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมและอัตรากำไรขั้นต้น
การเรียนรู้วิธีประเมินมูลค่าหุ้นเป็นทักษะสำคัญสำหรับนักลงทุนทุกคน แม้ดูเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าเราเริ่มต้นจากวิธีง่ายๆ และคอยศึกษาเพิ่มเติม จะช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์และประเมินมูลค่าหุ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การตัดสินใจลงทุนที่ดีขึ้นและเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ยั่งยืนในระยะยาวได้
คำเตือน: เอกสารนี้จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น และไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นคำแนะนำทางการเงิน การลงทุน หรือคำแนะนำอื่นใดที่ควรอ้างอิง (และไม่ควรพิจารณาว่าเป็นคำแนะนำ) ความคิดเห็นใด ๆ ในเอกสารนี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำของ EBC หรือผู้เขียนว่ากลยุทธ์การลงทุน หลักทรัพย์ ธุรกรรม หรือการลงทุนใด ๆ เหมาะสมกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ
รู้จัก เส้น SMA (Simple Moving Average) ตัวชี้วัดทางเทคนิคพื้นฐานสำหรับเทรดเดอร์ อธิบายความหมาย พร้อมการเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมในการใช้วิเคราะห์สินทรัพย์
2025-07-09เทรดเดอร์ต้องรู้ สัญญาณ Overbought Oversold คืออะไร ก่อนลุยตลาดสินทรัพย์เสี่ยง พร้อมเผยกลยุทธ์แนวโน้มราคาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตแบบไม่มีกั๊ก
2025-07-09ทำความเข้าใจว่า GDX ทำงานอย่างไร ความเสี่ยงและแตกต่างจากทองคำอย่างไร ก่อนที่จะเพิ่มลงในพอร์ตการลงทุนของคุณ
2025-07-09