เปิดข้อมูล อินดิเคเตอร์ Forex สำหรับเทรดเดอร์มือใหม่ ล้วงลึกข้องสงสัยว่าอินดิเคเตอร์คืออะไร มีอะไรบ้าง และมีแนวทางการใช้อย่างไร
ไม่ว่าใครก็ตามที่เข้าสู่โลกของการเทรด Forex นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจ อินดิเคเตอร์ (Indicator) คืออะไร เพราะการที่เราซึ่งเป็นเทรดเดอร์ลงสนามเทรดโดยไม่เข้าใจสิ่งนี้ ย่อมเปรียบเหมือนการขับรถในเวลากลางคืนที่ไม่มีไฟหน้านั่นเอง
ดังนั้นในบทความนี้ เราจะพาทุกท่าน โดยเฉพาะเทรดเดอร์มือใหม่ ไปทำความเข้าใจว่า อินดิเคเตอร์ Forex คืออะไร มีอะไรบ้าง พร้อมแนวทางการใช้เบื้องต้น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเทรด Forex แบบจัดเต็มไม่มีกั๊ก
อินดิเคเตอร์ Forex เปรียบเสมือน เครื่องมือช่วยวิเคราะห์ทางเทคนิค ที่นักเทรดใช้เพื่อคาดการณ์แนวโน้มราคาในตลาด Forex โดยอินดิเคเตอร์เหล่านี้จะแสดงผลออกมาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เส้น กราฟ หรือตัวเลข ซึ่งคำนวณมาจากข้อมูลราคาและปริมาณการซื้อขายในอดีต
พูดง่าย ๆ คือ อินดิเคเตอร์จะช่วยให้เราเห็นภาพรวมของตลาดได้ชัดเจนขึ้น ช่วยในการตัดสินใจว่าจะซื้อหรือขายคู่เงินไหนดี และควรจะเข้าหรือออกจากออเดอร์เมื่อไหร่
ระบุแนวโน้ม: ช่วยให้รู้ว่าราคาปัจจุบันกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น (Uptrend), ขาลง (Downtrend) หรือ Sideways (ไม่มีแนวโน้มชัดเจน)
หาจุดเข้าและออก: ช่วยในการคาดการณ์ว่าราคาอาจจะกลับตัวเมื่อไหร่ ทำให้เราหาจังหวะในการเปิดหรือปิดออเดอร์ได้แม่นยำขึ้น
วัดความผันผวน: บอกให้รู้ว่าราคาในช่วงนั้นมีความผันผวนมากน้อยแค่ไหน เพื่อที่เราจะได้ปรับกลยุทธ์การเทรดให้เหมาะสม
ยืนยันสัญญาณ: การใช้อินดิเคเตอร์หลายตัวร่วมกัน จะช่วยยืนยันความน่าจะเป็นของสัญญาณการซื้อขายให้มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น
อินดิเคเตอร์ในตลาด Forex นั้นมีมากมายแต่โดยหลัก ๆ แล้ว สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มตามฟังก์ชันและวัตถุประสงค์ในแต่ละเครื่องมือดังนี้
1. อินดิเคเตอร์บอกแนวโน้ม (Trend Following Indicators): อินดิเคเตอร์กลุ่มนี้จะช่วยให้เราเห็นภาพใหญ่ของแนวโน้มราคา
Moving Average (MA): เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ เป็นอินดิเคเตอร์พื้นฐานที่ฮิตมาก เพราะจะช่วยให้เห็นแนวโน้มราคาในอดีต และสามารถใช้หาแนวรับแนวต้านได้
Moving Average Convergence Divergence (MACD): เป็นอินดิเคเตอร์ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่สองเส้น ช่วยในการระบุแนวโน้มและโมเมนตัมของราคา
Ichimoku Kinko Hyo: หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "อิชิโมกุ" เป็นอินดิเคเตอร์ที่ซับซ้อน แต่ให้ข้อมูลที่หลากหลาย ทั้งแนวโน้ม แนวรับแนวต้าน และโมเมนตัม
2. อินดิเคเตอร์วัดโมเมนตัม (Momentum Indicators): อินดิเคเตอร์กลุ่มนี้จะช่วยวัดความเร็วและความแข็งแกร่งของการเคลื่อนที่ของราคา
Relative Strength Index (RSI): เป็นอินดิเคเตอร์ที่วัดความแข็งแกร่งของแนวโน้มราคา และช่วยระบุสภาวะ Overbought (ซื้อมากเกินไป) และ Oversold (ขายมากเกินไป)
Stochastic Oscillator: คล้ายกับ RSI แต่จะเปรียบเทียบราคาปิดปัจจุบันกับช่วงราคาในอดีต เพื่อดูว่าราคาอยู่ในตำแหน่งใดของช่วงราคานั้น ๆ
Commodity Channel Index (CCI): เป็นอินดิเคเตอร์ที่วัดความแตกต่างระหว่างราคาปัจจุบันกับค่าเฉลี่ยในช่วงเวลาหนึ่ง ช่วยในการระบุจุดกลับตัวของราคา
3. อินดิเคเตอร์วัดความผันผวน (Volatility Indicators): อินดิเคเตอร์กลุ่มนี้จะช่วยให้เราทราบถึงระดับความผันผวนของราคา
Bollinger Bands: เป็นอินดิเคเตอร์ที่แสดงเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ตรงกลาง และมีแถบด้านบนและด้านล่างที่แสดงถึงช่วงความผันผวนของราคา หากราคาเข้าใกล้แถบด้านบน แสดงว่ามีความผันผวนสูง และอาจจะมีการกลับตัว
Average True Range (ATR): เป็นอินดิเคเตอร์ที่วัดขนาดความผันผวนเฉลี่ยของราคาในช่วงเวลาหนึ่ง
4. อินดิเคเตอร์วัดปริมาณการซื้อขาย (Volume Indicators): อินดิเคเตอร์กลุ่มนี้จะช่วยดูว่ามีปริมาณการซื้อขายมากน้อยแค่ไหนในแต่ละช่วงเวลา
Volume: แสดงปริมาณการซื้อขายในแต่ละแท่งเทียน
On Balance Volume (OBV): เป็นอินดิเคเตอร์ที่ใช้ปริมาณการซื้อขายเพื่อยืนยันแนวโน้มราคา
เลือกอินดิเคเตอร์ที่เหมาะสม: เทรดเดอร์ไม่จำเป็นต้องใช้อินดิเคเตอร์ทุกตัวในคราวเดียว ให้เลือกใช้เฉพาะอินดิเคเตอร์ที่เข้าใจง่ายและเข้ากับกลยุทธ์การเทรดของเราก็พอ
ทำความเข้าใจกับระบบและฟังก์ชัน: อินดิเคเตอร์ส่วนใหญ่สามารถปรับตั้งค่าได้ ดังนั้นการปรับค่าให้เหมาะสมกับคู่เงินและกรอบเวลาที่เราเทรดจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นผู้ใช้งานควรศึกษาข้อมูลและระบบของเครื่องมือนั้น ๆ ให้ดี
อย่าเชื่ออินดิเคเตอร์ 100%: อย่างไรก็ดี อินดิเคเตอร์เป็นเพียงเครื่องมือช่วยวิเคราะห์ ไม่ใช่เครื่องมือทำนายอนาคต เทรดเดอร์จึงควรใช้ร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน และบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสมด้วย
อินดิเคเตอร์ Forex เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์และจำเป็นสำหรับนักเทรดทุกคน ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่หรือมืออาชีพ ดังนั้นการทำความเข้าใจและใช้งานอินดิเคเตอร์อย่างถูกต้อง จะช่วยเพิ่มโอกาสในการทำกำไรและลดความเสี่ยงในการเทรดได้ แต่ก็ควรตระหนักไว้ว่าสุดท้ายแล้วสิ่งที่ดีที่สุดของการเทรดคือวินัยและกลยุทธ์ที่วางไว้ รวมถึงการศึกษาข้อมูลตลาด ไม่ควรวางใจอินดิเคเตอร์เพียงอย่างเดียว
คำเตือน: เอกสารนี้จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น และไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นคำแนะนำทางการเงิน การลงทุน หรือคำแนะนำอื่นใดที่ควรอ้างอิง (และไม่ควรพิจารณาว่าเป็นคำแนะนำ) ความคิดเห็นใด ๆ ในเอกสารนี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำของ EBC หรือผู้เขียนว่ากลยุทธ์การลงทุน หลักทรัพย์ ธุรกรรม หรือการลงทุนใด ๆ เหมาะสมกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ
เปิดชื่อ 3 กองทุน ETF สายปันผล ผลงานดี พร้อมข้อมูลย้อนหลังแบบเจาะลึก กองไหนลงทุนในอะไรบ้างแบบครบจบในที่เดียว
2025-07-07ปริมาณการซื้อขายในตลาดหุ้นคืออะไร เรียนรู้ว่าปริมาณการซื้อขายสะท้อนถึงกิจกรรมของนักลงทุนอย่างไร และเหตุใดจึงมีความสำคัญต่อการวิเคราะห์แนวโน้มราคา
2025-07-07ทองคำส่องสว่างมากขึ้นในปี 2568 เนื่องจากความไม่แน่นอนของนโยบาย ความตึงเครียดระดับโลก และความต้องการที่ยืดหยุ่น ส่งผลให้ทองคำน่าดึงดูดใจในฐานะเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงระยะยาว
2025-07-07