Descending Triangle คืออะไร? พร้อมเคล็ดลับขายชอร์ต

2025-03-20
สรุป

รูปแบบ Descending Triangle คือเครื่องมือที่ช่วยในการขายชอร์ตในตลาดขาลง โดยมีจุดทะลุแนวรับและเป้าหมายกำไรที่ชัดเจน เพิ่มโอกาสทำกำไรในตลาดที่ลดลง

ในเชิงวิเคราะห์ทางเทคนิค รูปแบบกราฟ Descending Triangle ถือเป็นหนึ่งในรูปแบบที่เป็นที่รู้จักและถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย โดยรูปแบบนี้มักถูกจัดอยู่ในกลุ่มของ Bearish Continuation Pattern ซึ่งมักจะปรากฏในช่วงขาลงของราคา สะท้อนให้เห็นถึงการที่แรงขายยังคงครองตลาด และมีแนวโน้มว่าราคาจะทะลุลงต่ำกว่าเดิม


รูปแบบนี้มักเกิดขึ้นในแนวโน้มขาลงจึงช่วยเสริมภาพรวมของภาวะตลาดหมี (Bearish Sentiment) ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น นักเทรดมักใช้รูปแบบนี้เพื่อคาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาในอนาคต และจัดวางตำแหน่งการเทรดให้เหมาะสม


แม้ว่ารูปแบบ Descending Triangle จะเป็นสัญญาณขาลงเป็นหลัก แต่ก็มีบางกรณีที่ราคาทะลุขึ้นด้านบนแทน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อแรงซื้อสามารถเอาชนะแรงขายได้ ส่งผลให้ราคาทะลุเส้นแนวโน้มขาลงขึ้นไป


ทำความเข้าใจรูปแบบ Descending Triangle

ทำความเข้าใจรูปแบบ Descending Triangle - EBC


รูปแบบ descending triangle หรือรูปสามเหลี่ยมขาลงประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญสองส่วน ได้แก่ แนวรับในแนวนอนและแนวต้านที่ลาดลง โดยแนวรับแนวนอนแสดงถึงระดับราคาที่ผู้ซื้อเข้ามาช่วยพยุงไม่ให้ราคาลดต่ำลง ส่วนแนวต้านที่ลาดลงเกิดจากชุดของจุดสูงสุดที่ลดลงเรื่อย ๆ สะท้อนให้เห็นถึงแรงขายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง


ราคาจะเคลื่อนไหวไปมาระหว่างแนวรับและแนวต้านนี้ ทำให้เกิดรูปทรงสามเหลี่ยมขึ้นมา และเมื่อรูปแบบนี้พัฒนาไปเรื่อย ๆ ช่วงการเคลื่อนไหวของราคาจะเริ่มแคบลง แรงกดดันสะสมเพิ่มขึ้น จนในที่สุดราคาจะทะลุออกจากกรอบรูปแบบ ซึ่งโดยทั่วไปมักจะทะลุลงด้านล่าง


อย่างไรก็ตาม ดังที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ บางกรณีรูปแบบนี้อาจเป็นสัญญาณกลับตัวขึ้น หากมีการทะลุแนวต้านด้านบน ดังนั้นจึงแนะนำให้นักเทรดรอการยืนยันการทะลุกรอบที่ชัดเจนก่อนตัดสินใจเปิดสถานะ


การระบุรูปแบบ Descending Triangle บนกราฟราคา


การระบุรูปแบบ Descending Triangle บนกราฟราคา- EBC


เพื่อให้สามารถจดจำและเทรดตามรูปแบบนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักเทรดควรมองหาชุดของราคาสูงสุดและราคาต่ำสุดที่ลดลงต่อเนื่อง ก่อนที่รูปแบบจะก่อตัวขึ้น เนื่องจาก descending triangle จะให้ผลดีที่สุดเมื่อเกิดขึ้นในช่วงแนวโน้มขาลง


เมื่อพบแนวโน้มขาลงที่เกิดขึ้นก่อนหน้าแล้ว ให้พิจารณาเส้นแนวโน้มด้านบนของรูปสามเหลี่ยมที่ลาดลง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแรงซื้อกำลังอ่อนแรงลง โดยสังเกตว่าจุดสูงสุดใหม่แต่ละครั้งจะต่ำกว่าจุดสูงสุดก่อนหน้า ซึ่งเป็นสัญญาณว่าผู้ซื้อเริ่มเสียการควบคุม และแรงขายกำลังเข้ามาแทนที่


จากนั้นให้ระบุแนวรับแนวนอน ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของ descending triangle โดยราคาควรจะดีดตัวขึ้นจากแนวรับนี้หลายครั้งอย่างสม่ำเสมอ แสดงให้เห็นว่าผู้ซื้อพยายามปกป้องระดับราคานี้ แต่แรงขายก็ยังคงกดดันมากขึ้นเรื่อยๆ


อีกประเด็นที่ควรสังเกตคือ ปริมาณการซื้อขาย (Volume) มักจะลดลงในระหว่างที่รูปแบบกำลังก่อตัว และจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเกิดการทะลุกรอบ ดังนั้นควรเฝ้าดูปริมาณที่ลดลงระหว่างการก่อตัวของรูปแบบ และหากมีการพุ่งขึ้นของวอลุ่มในจังหวะที่ราคาทะลุแนวรับลงมา ก็ถือเป็นการยืนยันว่าการเคลื่อนไหวขาลงนั้นมีความน่าเชื่อถือ อย่าลืมว่ารูปแบบ descending triangle จะถือว่าสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อราคาทะลุแนวรับลงมาได้จริง ดังนั้น ควรอดทนรอการยืนยันอย่างชัดเจนเพื่อหลีกเลี่ยงสัญญาณหลอก (false breakout)


ทำไมรูปแบบ Descending Triangle จึงเหมาะกับการขายชอร์ต

  • มีจุดทะลุแนวรับที่ชัดเจน: เส้นแนวรับที่ขนานในแนวนอนช่วยให้เราระบุจุดที่ราคาน่าจะทะลุลงได้อย่างแม่นยำ ทำให้สามารถวางคำสั่งขาย (short) ได้ในจังหวะที่เหมาะสม

  • ช่วยกำหนดจุดตัดขาดทุน (Stop Loss) ได้อย่างมีเหตุผล: นักเทรดสามารถวางจุด Stop Loss ไว้เหนือจุดสูงสุดก่อนหน้า ซึ่งช่วยควบคุมความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • แนวโน้มยังคงแข็งแกร่งในทิศทางขาลง: เพราะรูปแบบนี้มักปรากฏในช่วงที่ตลาดมีแรงขายชัดเจน จึงเพิ่มความเป็นไปได้ที่ราคาจะปรับตัวลงต่อหลังจากทะลุแนวรับสามารถ

  • คาดการณ์เป้าหมายกำไรได้อย่างมีหลักการ: สามารถใช้ความสูงของรูปสามเหลี่ยมในการประเมินเป้าหมายราคาหลังจากการทะลุลงได้ ช่วยให้วางแผนการทำกำไรได้อย่างมีเหตุผลและแม่นยำมากขึ้น


กลยุทธ์การขายชอร์ตเมื่อพบรูปแบบ Descending Triangle

วิธีการเทรดที่นิยมและได้ผลที่สุดสำหรับรูปแบบ Descending Triangle คือการเปิดสถานะขายชอร์ตเมื่อราคาทะลุแนวรับที่ชัดเจนลงมา นักเทรดควรเริ่มจากการมองหารูปแบบ Descending Triangle ที่สมบูรณ์บนกราฟ และติดตามปริมาณการซื้อขายอย่างใกล้ชิด เพราะการทะลุที่มาพร้อมกับปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับสัญญาณดังกล่าว


เมื่อราคาขยับเข้าใกล้แนวรับนักเทรดจะมีสองทางเลือกในการเข้าเทรด:

  • ทางเลือกแรก คือการเปิดสถานะขายล่วงหน้าก่อนที่ราคาจะทะลุแนวรับ โดยอาศัยการคาดการณ์ว่าแรงขายจะมีมากพอที่จะกดดันให้ราคาหลุดลงมา ซึ่งวิธีนี้มีความเสี่ยงมากกว่า เพราะราคายังอาจดีดตัวขึ้นจากแนวรับได้ หากเลือกใช้แนวทางนี้ควรวางจุดตัดขาดทุน (Stop Loss) ไว้เหนือจุดสูงสุดล่าสุดเพื่อจำกัดความเสียหายในกรณีที่รูปแบบไม่เป็นไปตามคาด

  • ทางเลือกที่สอง (แนะนำ) คือการรอให้เกิดการทะลุแนวรับอย่างชัดเจนก่อน แล้วค่อยเข้าเทรดเมื่อราคาย้อนกลับมาทดสอบแนวรับเดิมซึ่งกลายเป็นแนวต้าน วิธีนี้ช่วยลดความเสี่ยงจากสัญญาณหลอก (false breakout) และให้จุดเข้าเทรดที่น่าเชื่อถือมากขึ้น


นอกจากนี้ ควรใช้ตัวชี้วัดโมเมนตัม เช่น ดัชนี RSI และ MACD เพื่อยืนยันความแข็งแกร่งของการทะลุลง เช่น หากค่า RSI ต่ำกว่า 40 ร่วมกับสัญญาณตัดลงของ MACD ก็จะเพิ่มความมั่นใจว่าแนวโน้มขาลงมีโอกาสจะดำเนินต่อไป


ตัวอย่างจริงของการขายชอร์ตด้วยรูปแบบDescending Triangle

หนึ่งในตัวอย่างที่น่าสนใจคือหุ้นของบริษัท Tesla (TSLA) ระหว่างแนวโน้มขาลงในปี 2022 ซึ่งในช่วงนั้นหุ้นได้เริ่มก่อตัวเป็นรูปแบบ Descending Triangle โดยมีแนวรับอยู่ที่ระดับราคา 700 ดอลลาร์ทำให้นักเทรดหลายคนคาดการณ์ว่าอาจมีการทะลุแนวรับเกิดขึ้น


และเมื่อราคาทะลุต่ำกว่าระดับดังกล่าวในที่สุด ก็เกิดแรงขายอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ราคาหุ้น TSLA ร่วงลงไปถึงระดับ 600 ดอลลาร์ ภายในเวลาไม่กี่วัน นักเทรดที่เปิดสถานะขาย (short) หลังจากได้รับสัญญาณยืนยันการทะลุแนวรับ ก็สามารถทำกำไรได้อย่างมีนัยสำคัญจากการเคลื่อนไหวนี้


สรุป

รูปแบบ Descending Triangle ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับการทำกำไรจากการขายชอร์ต ด้วยการให้จุดทะลุแนวรับที่ชัดเจน จุดตัดขาดทุนที่กำหนดได้อย่างแม่นยำ และเป้าหมายกำไรที่คาดการณ์ได้อย่างเป็นระบบ รูปแบบนี้จึงช่วยให้นักเทรดสามารถวางแผนการเทรดที่มีโอกาสสำเร็จสูงในขณะที่ควบคุมความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม


แม้ว่าการขายชอร์ตจากรูปแบบ Descending Triangle จะให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจในตลาดขาลง แต่ก็ไม่ควรมองข้ามความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของโมเมนตัม ข่าวเศรษฐกิจ และแนวโน้มของตลาดโดยรวม ซึ่งล้วนสามารถส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของราคาได้


คำเตือน: เอกสารนี้จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น และไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อเป็นคำแนะนำทางการเงิน การลงทุน หรือคำแนะนำอื่นใดที่ควรอ้างอิง (และไม่ควรพิจารณาว่าเป็นคำแนะนำ) ความคิดเห็นใดๆ ในเอกสารนี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำของ EBC หรือผู้เขียนว่ากลยุทธ์การลงทุน หลักทรัพย์ ธุรกรรม หรือการลงทุนใดๆ เหมาะสมกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ

Bearish Divergence คืออะไร และเหตุใดจึงสำคัญในการซื้อขาย

Bearish Divergence คืออะไร และเหตุใดจึงสำคัญในการซื้อขาย

ค้นพบวิธีการทำงานของการแยกทางแบบขาลง เหตุใดจึงส่งสัญญาณว่าโมเมนตัมกำลังอ่อนตัวลง และผู้ซื้อขายใช้มันเพื่อคาดการณ์ภาวะขาลงของตลาดได้อย่างไร

2025-04-30
ราคาเศษทองแดงวันนี้: อัปเดตตลาดเดือนเมษายน 2568

ราคาเศษทองแดงวันนี้: อัปเดตตลาดเดือนเมษายน 2568

รับข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับราคาเศษทองแดงประจำเดือนเมษายน พ.ศ. 2568 ดูอัตราปัจจุบัน แนวโน้มตลาด และสิ่งที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสำหรับผู้ขาย ผู้ซื้อ และผู้รีไซเคิล

2025-04-30
อินดิเคเตอร์ Aroon หรือค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่: ควรใช้ตัวไหนดี?

อินดิเคเตอร์ Aroon หรือค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่: ควรใช้ตัวไหนดี?

ตัวบ่งชี้ Aroon และค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ติดตามแนวโน้ม แต่ตัวใดมีประสิทธิภาพมากกว่าสำหรับกลยุทธ์การซื้อขายของคุณ เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้งานและกลยุทธ์ของตัวเหล่านี้

2025-04-30