จุด Stop Loss ตัวช่วยสำคัญในการบริหารความเสี่ยง เป็นเครื่องมือช่วยป้องกันการขาดทุนแบบล้างพอร์ต ในช่วงตลาดมีการเคลื่อนไหวสวนทางกับการคาดการณ์ของนักลงทุน
การเทรดค่าเงิน (Forex)เต็มไปด้วยโอกาสสร้างผลกำไรมหาศาลเพราะอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินจะมีความผันผวนอยู่ตลอดเวลาทำให้นักลงทุนสามารถหาจังหวะทำกำไรระยะสั้นได้แต่ก็เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงมากด้วยเช่นกันตลาดนี้อาจจะเรียกได้ว่ายังไม่เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ไม่มีการวางแผนการลงทุนที่ดีและเทรดไปเรื่อยๆตามอารมณ์โดยไม่ตั้งจุดStop Loss
จุดStop Lossเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มีประโยชน์อย่างยิ่งในการบริหารความเสี่ยงและเป็นสิ่งที่นักลงทุนทุกคนควรให้ความสำคัญเนื่องจากช่วยป้องกันการขาดทุนแบบล้างพอร์ตหากตลาดเคลื่อนไหวสวนทางกับการคาดการณ์การตั้งจุดStop Lossและทำตามอย่างมีวินัยยังสามารถช่วยลดความเครียดและทำให้นักลงทุนมีสติย้อนกลับวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุนใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Stop Loss คืออะไร ทำไมต้องกำหนดด้วย
Stop Lossเป็นจุดหรือคำสั่งที่นักลงทุนตั้งไว้ในระบบการเทรดเพื่อปิดการเทรดโดยอัตโนมัติเมื่อราคาสินทรัพย์ถึงระดับที่กำหนดไว้หรือจะกำหนดเองเป็นจุดขาดทุนสะสมเมื่อถึงระดับแล้วจะต้องหยุดเทรดทันนี้จุดประสงค์หลักของการใช้Stop Lossคือการจำกัดการขาดทุนในกรณีที่ตลาดไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง
ประโยชน์ของการใช้Stop Loss
จำกัดการขาดทุนจุด Stop Lossช่วยให้นักลงทุนสามารถจำกัดการขาดทุนได้ในช่วงที่ตลาดสวนทางกับแนวทางการลงทุนทำให้สามารถรักษาเงินทุนและลดความเสี่ยงในการขาดทุนหนักได้
ลดความเครียด นักลงทุนไม่จำเป็นต้องเฝ้าติดตามตลาดตลอดเวลาหากเลือกตั้งจุดStop Lossไว้จะช่วยลดความกังวลและความเครียดในการตัดสินใจเมื่อราคาสินทรัพย์เคลื่อนไหวที่เปลี่ยนไปได้
สร้างวินัยการเทรด ทำให้เราปฏิบัติตามแผนการเทรดที่วางไว้อย่างแน่วแน่ลดการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนโดยไม่จำเป็น
ป้องกันการขาดทุนที่ไม่จำเป็น ช่วยป้องกันการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นจากความผันผวนของตลาดในระยะสั้นทำให้สามารถรักษาผลกำไรในระยะยาวได้
เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการพอร์ตการลงทุน ช่วยให้นักลงทุนสามารถบริหารจัดการพอร์ตการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยสามารถควบคุมความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสในการทำกำไรในระยะยาวได้
วิธีการตั้งจุดStop Loss
การตั้งจุดStop Lossควรพิจารณาจากหลายปัจจัยเช่นความเสี่ยงที่ยอมรับได้วอลุมของเงินทุนและแนวโน้มของตลาดโดยทั่วไปจะนิยมตั้งจุดStop Lossด้วย 5 วิธีนี้
Fixed Stop Loss การตั้งจุด Stop Lossที่ระดับการขาดทุนคงที่เช่นตั้งจุด Stop Lossไว้ที่ 5-10%ของเงินลงทุน
Trailing Stop Loss การตั้งจุด Stop Lossที่เคลื่อนที่ตามการเคลื่อนไหวของราคาเช่นตั้งจุด Stop Lossไว้ที่10%ของราคาสูงสุดที่เคยถึงในช่วงเวลาที่ผ่านมา
Percentage Stop Loss การตั้งจุด Stop Lossตามเปอร์เซ็นต์ของเงินทุนเช่นตั้งจุด Stop Lossไว้ที่ 2%ของเงินทุนคงเหลือที่มีในพอร์ต
Volatility Stop Loss การตั้งจุด Stop Lossตามความผันผวนของตลาดเช่นใช้ค่าเฉลี่ยความผันผวนในการกำหนดระดับการขาดทุนที่ยอมรับได้
Support and Resistance Stop Loss การตั้งจุดStop Lossที่ระดับแนวรับและแนวต้านเช่นตั้งจุด Stop Lossใต้แนวรับหรือเหนือแนวต้าน
5แนวทางตั้งStop Lossให้เหมาะสมกับความเสี่ยงและเงินลงทุนเฉพาะบุคคล
การตั้งจุดStop Lossควรคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่างตั้งแต่ความเสี่ยงที่ยอมรับได้จนถึงจำนวนเงินลงทุนและนี่คือ5แนวทางที่นักลงทุนสามารถใช้ในการตั้งจุดStop Lossให้เหมาะสมกับสไตล์ตนเองได้
1.กำหนดระดับการขาดทุนที่ยอมรับได้
การตั้งStop Lossควรพิจารณาจากระดับการขาดทุนที่คุณยอมรับได้ตามขนาดของเงินทุนเช่นหากคุณมีเงินลงทุน100,000และยอมรับการขาดทุนได้5%คุณควรตั้งจุดStop Lossไว้ที่ระดับการขาดทุน5,000บาทวิธีนี้จะช่วยให้คุณสามารถควบคุมความเสี่ยงและไม่ทำให้การขาดทุนจนกระทบต่อเงินทุนทั้งหมดของคุณพูดง่ายๆก็คือยังเหลือเงินทุนเพื่อมีโอกาสทำกำไรได้ในอนาคต
2.ใช้ความผันผวนของตลาดเป็นเกณฑ์
ในบางสถานการณ์การตั้งStop Lossควรพิจารณาความผันผวนของตลาดร่วมด้วยถ้าตลาดมีความผันผวนสูงควรตั้งจุดStop Lossให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันการโดนหยุดการขาดทุนจากความผันผวนระยะสั้นเช่นถ้าคุณเทรดในตลาดที่มีความผันผวนสูงเช่นตลาดคริปโตคุณควรตั้งจุดStop Lossไว้ที่ระดับการขาดทุนที่สูงขึ้นกว่าปกติเช่นจากที่ตั้งไว้2%อาจจะขยับเป็น5-10%เป็นต้น
3.วิเคราะห์แนวรับและแนวต้าน
การวิเคราะห์แนวรับและแนวต้านช่วยให้นักลงทุนสามารถตั้งจุดStop Lossได้อย่างมีเหตุผลโดยตั้งจุดStop Lossที่แนวรับหรือเหนือแนวต้านเพื่อป้องกันการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นทุกครั้งที่ราคาขึ้นหรือลงมาแตะที่แนวรับหรือแนวต้านให้ทำการขายออกทันที
4.ใช้เครื่องมือทางเทคนิค
การใช้เครื่องมือทางเทคนิคเช่นเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่(Moving Average)หรือดัชนีสัมพัทธ์(Relative Strength Index-RSI)จะช่วยในการตั้งจุดStop Lossที่เหมาะสมและแม่นยำมากขึ้นตัวอย่างเช่นถ้าคุณใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่50วันในการเทรดคุณสามารถตั้งจุดStop Lossไว้ที่ระดับต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เพื่อป้องกันการขาดทุนได้เป็นต้น
5.ปรับเปลี่ยนStop Lossตามการเคลื่อนไหวของตลาด
นักลงทุนควรพิจารณาปรับเปลี่ยนจุดStop Lossตามการเคลื่อนไหวของตลาดเช่นการยกจุดStop Lossขึ้นเมื่อราคาสินทรัพย์ปรับตัวขึ้นการทำแบบนี้คือการLet Profits Runหรือปล่อยให้ไหลทำกำไรสูงขึ้นตัวอย่างเช่นถ้าคุณยอมรับการขาดทุนได้ที่5%และราคาสินทรัพย์ที่คุณเข้าเทรดกำลังไต่ระดับขึ้นไปที่150บาทจากจุดซื้อ100บาทหากวิเคราะห์แล้วพบว่าเป็นช่วงขาขึ้นน่าจะยังขึ้นต่อไปได้อีกคุณสามารถยกจุดStop Lossขึ้นมาเป็น142.50บาทเพื่อเพิ่มโอกาสทำกำไรที่สูงขึ้นได้
การตั้งจุดStop Lossเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยป้องกันการขาดทุนหนักในการเทรดค่าเงินนักลงทุนควรให้ความสำคัญกับการตั้งจุดStop Lossและต้องทำตามแผนนี้อย่างมีวินัยหากยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรลองนำแนวทางทั้ง5นี้ไปปรับใช้กับการเทรดของคุณได้และต้องไม่ลืมว่าการเทรดที่สร้างกำไรได้มักเป็นการเทรดโดยไม่ใช้อารมณ์ตัดสินใจเท่านั้น