เงินเฟ้อ ทองขึ้นหรือลง? ไขความลับความสัมพันธ์ที่นักลงทุนต้องรู้ พร้อมเจาะลึกกลไกและปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาทองคำในช่วงเงินเฟ้อ
ในวงการการลงทุน หนึ่งในคำถามที่มักถูกหยิบยกมาพูดถึงเสมอคือ ความสัมพันธ์ระหว่าง "เงินเฟ้อ" กับ "ทองคำ" เพราะทุกครั้งที่ภาวะเงินเฟ้อเริ่มโตขึ้น ราคาทองก็จะพุ่งสูงขึ้นตามแทบจะทันที แม้ว่าตัวทองคำเองก็ไม่ได้มีสถานะเป็นบริษัทเอกชนหรือหุ้นที่จะมีผลประกอบการใด ๆ
ซึ่งในบทความนี้จึงจะพาเอฟซีผู้อ่านไปเจาะลึกข้อสงสัยว่าเวลาเงินเฟ้อ ทองขึ้นหรือลง พร้อมกลไกการเคลื่อนไหวของราคาเพื่อให้นักลงทุนมือใหม่สามารถเข้าใจและนำไปใช้ในการตัดสินใจลงทุนได้อย่างเหมาะสม
ก่อนที่จะไปถึงเรื่องทองคำ เรามาทำความเข้าใจความหมายของเงินเฟ้อ (Inflation) กันก่อน ซึ่งเงินเฟ้อคือภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปในระบบเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ค่าเงินลดลง กล่าวคือ เงินจำนวนเท่าเดิมจะสามารถซื้อสินค้าและบริการได้น้อยลง ยกตัวอย่างเช่น ปีที่แล้วข้าวราดแกงจานละ 40 บาท ปีนี้จานเดียวกันราคา 45 บาท นี่คือ เงินเฟ้อ 12.5% สำหรับสินค้ารายการนั้น
ทองคำถูกมองว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีคุณสมบัติในการป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อเพราะ เป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าในตัวของมันเอง (แม้จะเป็นการที่สัวคมให้ค่าเองก็ตาม) จับต้องได้ ซึ่งแตกต่างจากสกุลเงินทั่วไปที่เราใช้กัน เพราะมูลค่าอาจขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจและรัฐบาล อีกทั้ง ปริมาณทองคำที่มีอยู่บนโลกก็จำกัด ต่างจากสกุลเงินที่ธนาคารกลางสามารถพิมพ์เพิ่มขึ้นได้
ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อและค่าเงินลดลง นักลงทุนจึงมองว่าทองคำที่มีอยู่อย่างจำกัด สามารถรักษามูลค่าได้ดีกว่าเงินธรรมดา จึงพากันไปซื้อทองคำจนราคาพุ้งสูง แถมทองคำยังมีประวัติศาสตร์ในการเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนและสะสมความมั่งคั่งมานับพันปี ทำให้มีความเชื่อมั่นในคุณสมบัติการรักษามูลค่าของมันมาโดยตลอดอีกด้วย
ค่าเงินลดลง: เมื่อค่าเงินลดลง นักลงทุนจะมองหาสินทรัพย์อื่นที่สามารถรักษามูลค่าได้ ซึ่งทองคำมักจะเป็นตัวเลือกแรกๆ
ความต้องการเพิ่มขึ้น: ความกังวลเกี่ยวกับค่าเงินที่ลดลงจะกระตุ้นความต้องการทองคำ ทำให้ราคามีแนวโน้มสูงขึ้น
ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น: ในช่วงเงินเฟ้อ ต้นทุนการผลิตทองคำ เช่น ค่าแรงและพลังงาน ก็อาจสูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นตามไปด้วย
ทองคำมักจะถูกมองว่าเป็นสินทรัพย์ที่สามารถป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อได้ดีในระยะยาว เนื่องจากมีมูลค่าในตัวเอง อุปทานจำกัด และมีประวัติศาสตร์ยาวนานในการเป็นแหล่งพักเงินที่ปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างเงินเฟ้อและราคาทองคำอาจมีความซับซ้อนและได้รับผลกระทบจากปัจจัยอื่นๆ ด้วย ดังนั้น นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลและวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ อย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุนในทองคำในช่วงที่เกิดภาวะเงินเฟ้อ
คำเตือน: เอกสารนี้จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น และไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อเป็นคำแนะนำทางการเงิน การลงทุน หรือคำแนะนำอื่นใดที่ควรอ้างอิง (และไม่ควรพิจารณาว่าเป็นคำแนะนำ) ความคิดเห็นใดๆ ในเอกสารนี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำของ EBC หรือผู้เขียนว่ากลยุทธ์การลงทุน หลักทรัพย์ ธุรกรรม หรือการลงทุนใดๆ เหมาะสมกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ
สำรวจ ETF XLK จากมุมมองของผู้ซื้อขาย ครอบคลุมถึงสภาพคล่อง ต้นทุน แนวโน้มปริมาณ และกลยุทธ์การกำหนดเวลาสำหรับการเปิดรับตลาดในระยะสั้น
2025-07-18เรียนรู้วิธีการประเมินการตัดสินใจซื้อหรือขายน้ำมันดิบโดยใช้แนวโน้มมหภาค การวิเคราะห์ทางเทคนิค และการตั้งค่าการซื้อขายเชิงกลยุทธ์เพื่อการดำเนินการแบบเรียลไทม์
2025-07-18เปิดคู่มือ Liquidation คืออะไร ทำความเข้าใจคำศัพท์สำคัญในโลกการเงิน ตั้งแต่การถูกบังคับปิดสถานะเทรดจนถึงขั้นถูกล้างพอร์ต
2025-07-18